วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สรุปเนื้อหาบทที่ 7 (คำถามท้ายบทที่ 7)

บทที่ 7
การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต
   เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทเข้ามาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันของทุกคนตั้งแต่การเรียนรู้ การประกอบอาชีพ การดูแลรักษาสุขภาพ การพักผ่อนหย่อนใจ จึงทำให้ทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้และปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง
การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษา
1.e-Laerning
    การพัฒนาการศึกษาโดยทำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าประยุกต์เพื่อให้เกิดรูปแบบการศึกษาแบบใหม่ที่สามารถรับรองรูปแบบการศึกษาด้วยตนเอง การศึกษาตลอดชีวิต การนำคอมพิวเตอร์และเครือข่ายการสื่อสารโดนเฉพาะอินเทอร์เน็ตมาเป็นตัวช่วยในการเพิ่มความสะดวกสบายในการเรียนรู้ การวัดผล และการจัดการศึกษาเพื่อทดแทนหรือสนับสนุนการศึกษาแบบเดิม ตัวแบบการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสานประกอบด้วย
11.e-laerning map การเรียนโดยการออกแบบแผนที่การเรียนเฉพาะบุคคลซึ่งใช้ข้อมูลจากการทดสอบเบื้องต้น
22. on-line e-laerning มี 2 ตัวเลือก คือ การถ่ายทอดกับการถ่ายข้อมูลลงแบบออนไลน์
33. e-laerning group ทรัพยากรในชุมชนการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนกันได้โดยใช้เครื่องแม่ข่ายของกลุ่มข่าว เป็นการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนในการปฏิสัมพันธ์หรือแลกเปลี่ยนข่าวสารได้ทั้งภาพและเสียง
44. e-comprehension กระบวนการเรียนรู้ผ่านการสร้างสถานการณ์ กรณีศึกษา โดยใช้ข้อความหลายมิติ เว็บไซต์ มัลติมีเดีย คำถาม และอื่นๆ
55. e-illustration การใช้ภาพประกอบ แผนภาพ และมัลติมีเดีย เพื่อเป็นการยกตัวอย่างประกอบอธิบายให้ชัดเจน
66. e-workgroup แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มต่างๆ และจัดกิจกรรมทั้งภายในและระหว่างกลุ่มเพื่อให้ได้ผลการเรียนรู้ร่วมกัน
2  2. มัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้
     มัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ หมายถึง การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ถ่ายทอดหรือนำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอน ที่บูรณาการหรือผสมผสานสื่อหลากหลายรูปแบบเข้าไว้ด้วยกันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง เสียง นำเสนตามขั้นตอนกระบวนการเรียนการสอนได้ 9 ขั้นดังนี้
1.            การกระตุ้นหรือเร้าความสนใจให้พร้อมในการเรียน
2.            การแจ้งวัตถุประสงค์ของการเรียน
3.            การบททวนและกระตุ้นให้ระลึกถึงความรู้เดิม
4.            การนำเสนอสิ่งเร้าหรือเนื้อหาและความรู้ใหม่
5.            การแนะแนวทางการเรียนรู้
6.            การกระตุ้นการตอบสนองหรือแสดงความสามารถ
7.            การให้ข้อมูลป้อนกลับ
8.            การทดสอบความรู้หรือการประเมินผลการแสดงออก
9.            การส่งเสริมความจำหรือความคงทน และการนำไปใช้หรือถ่ายโอนการเรียนรู้
3.Virtual Classroom
       ห้องเรียนเสมือนเป็นห้องเรียนที่สามารถรองรับชั้นเรียนได้ในเวลาและสถานที่ซึ่งผู้เรียนกับผู้สอนไม่ได้อยู่ร่วมกันในสถานที่เดียวกัน คุณลักษณะคือการสนับสนุนการประเมินผลและการเข้ามีส่วนร่วมในการสื่อสารด้วยเครื่องมือต่างๆ
 4.Mobile Technology
       โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถรองรับทั้งการรับ-ส่งข้อมูลด้วยเสียงและข้อความ โดยจำกัดข้อจำกัดด้านความสามารถของการส่งเนื้อหาที่เป็นวิดีโอได้ สามารถนำมาเชื่อมต่อได้ทั้งเทคโนโลยีภาพเคลื่อนไหว เสียง สามารถแปลงเข้าสู่อุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้
 การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับสังคม
1.การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานสาธารณสุข
          เทคโนโลยีสารสนเทศมีความเป็นไปได้ในการปรับปรุงคุณภาพ ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการให้บริการสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาประยุกต์กับการให้บริการด้านสาธารณสุขเพื่อรวบรวม จัดเก็บ ค้นคืน และถ่ายโอนข้อมูลในระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้
2.การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับศาสนา ศิลปวัฒนธรรม
  1. ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม ได้แก่ บุคคล องค์กรทางวัฒนธรรม
  2. บริการรับคำร้องและให้บริการงานด้านภาพยนตร์และวิดีโอทัศน์
  3. บริการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและเผยแพร่ข้อมูลทางศาสนา ของกรมศาสนา
  4. บริการข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมและงานแสดงด้านวัฒนธรรม สุนทรีย์
  5. บริการสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอย่างบูรณาการ
  6. บริการข้อมูลของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
  7. บริการข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์มรดกโลก
 3. การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม
        กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้มีการวางแผนยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกระทรวงฯ รวมทั้งการจัดทำเว็บไซต์การเผยแพร่ข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นช่องทางในการสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับประชาชน
4. การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานบริการสังคม
      การพัฒนาระบบบริการภาครัฐได้มีการให้บริการสังคมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งการนำเทคโนโลยีมาให้บริการความรู้และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบถึงสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่ประชาชนได้รับจากภาครัฐ
 การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับธุรกิจ
1.e-Commerce
        พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื่อขายสินค้าและบริการ
2.e-Marketing
        การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ทันสมัยและสะดวกต่อการใช่งานที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาผสมผสานกับวิธีการทางการตลาด เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กรอย่างแท้จริง
3.M-Commerce
        กิจกรรมเชิงพาณิชย์ การบริการข่าวสาร การโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านอุปกรณ์และเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ การตลาดด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่จัดเป็นกลยุทธ์ด้านการตลาดแนวใหม่ที่นำเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่มาเป็นสื่อกลางในการสื่อสารกับกลุ่มเป่าหมายได้อย่างใกล้ชิด
การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับภาครัฐ
        รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ จัดเป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เป็นเครื่องมือของรัฐในการบริหารจัดการตามนโยบายและการให้บริการสู่ประชาชนเป็นหน้าที่ของรัฐที่พึงตอบสนองต่อเทคโนโลยีใหม่และสิ่งแวดล้อมใหม่ที่จะเกิดขึ้น
   ประโยชน์ของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
1.            การพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลและบริการที่ดีกว่าเดิมของประชาชน โดยบริการเป็ดเสร็จ ณ จุดเดียวและมีช่องทางการสื่อสารที่มาขึ้นโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์มาเสริม
2.            ปรับปรุงคุณภาพของการบริการ โดยสร้างความน่าเชื่อถือให้ดีกว่าเดิม เพื่อความรวดเร็ว สร้างความโปร่งใสของการให้บริการ
3.            การจัดการกระบวนการที่ดีขึ้น โดยเพิ่มกระแสสารสนเทศให้ไหลเวียนได้ดีขึ้น และมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนในงานต่างๆ
4.            มีระบบที่ดีขึ้น โดยมีเครื่องมือในการวิเคราะห์การบริการจัดการ การสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ดำเนินการ
5.            การกระจายอำนาจไปสู่ประชาชน
การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานบริการ
        เทคโนโลยีสารสนเทศกับการประยุกต์สำหรับงานบริการนั้น ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและก่อให้เกิดรูปแบบการให้บริการใหม่ๆ ที่สอดคล้องและตอบสนองความต้องการใหม่ๆของผู้ใช้งาน
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
        เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 2 องค์ประกอบ คือ เทคโนโลยีเพื่อการประมวล คือ ระบบคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีเพื่อการเผยแพร่ คือระบบสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีอื่นๆ
1.ระบบคอมพิวเตอร์
        ระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ และซอฟแวร์ซึ่งในอนาคตคาดว่าจะมีแนวโน้มการใช้งานดังนี้
        1.1 ฮาร์ดแวร์
        1.2 ซอฟแวร์
        1.3 คลาวด์คอมพิวติ้ง
2.ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
        2.1 เครือข่ายสังคมออนไลน์ หมายถึงเว็บไซต์ให้บริการผู้ใช้ให้สามารถสร้างเว็บ โฮมเพจของตน
        2.2 โซเชียลคอมเมิรซ์ คือการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการค้าขาย
3.นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในอีก 5 ปีข้างหน้า
        3.1 การสร้างพลังงานขึ้นเองเพื่อใช้ภายในบ้าน
        3.2  มนุษย์จะใช้เสียงพูด ใบหน้าและดวงตาแทนรหัสผ่าน
        3.3 มนุษย์สามารถใช้สมองสั่งงานแลปท็อป (laptop) และโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้
        3.4 ทุกคนสามารถเข้าข้อมูลต่างๆ ได้ทุกที่ทุกเวลาด้วยเทคโนโลยีโมบาย
        3.5 คอมพิวเตอร์จะคัดกรองข้อมูลสำคัญให้สอดคล้องกับความต้องการและพฤติกรรมของผู้ใช้
การปฏิรูปการทำงานกับการใช้ข่าวสารบนฐานเทคโนโลยีในอนาคต
1.การปฏิรูปการทำงานกับการใช่ข่าวสารบนฐานเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
        1.1 การปฏิรูปรูปแบบการทำงานขององค์กร เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการปฏิรูปรูปแบบของการทำงาน เช่น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสื่อสารกันในองค์กรด้วย อีเมล กรุ๊ปแวร์
        1.2 มีการจัดการเชิงกลยุทธ์ เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ในการสนับสนุนการจัดการเชิงกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
        1.3 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการทำงาน เพื่อให้การทำงานคล้องตัวและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
        1.4 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างคุณค่าให้กับองค์กรในอนาคตเทคโนโลยีสารสนเทศจะถูกนำมาใช้เพื่อสร้างคุณค่าให้กับองค์กร
2.การปรับตัวขององค์กรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
        การพัฒนาเทคโนโลยีขององค์การจะขึ้นอยู่กับผู้บริการเป็นสำคัญ โดยที่ผู้บริหารองค์กรจะต้องเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้
        2.1 ทำความเข้าใจต่อบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจปัจจุบัน เพื่อให้สามารถนำความรู้ต่างๆมาประยุกต์ใช้กับงานที่กำลังทำอยู่
        2.2 วางแผนระบบสารสนเทศ เองให้การดำเนินการสร้างหรือพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรภายใต้งบประมาณและระยะเวลาที่กำหนดไว้
        2.3 พัฒนาระบบสารสนเทศเกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลหรือความรู้ขององค์กรนักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้จะศึกษาหรือพิจารณาถึงข้อมูลและข่าวสารต่างๆ ที่องค์กรต้องการและใช้ในการดำเนินงานอยู่ประจำ
        2.4 พัฒนาศักยภาพของบุคคลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี

คำถามท้ายบทที่ 7
1. เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสาธารณสุขมีความสำคัญกับการให้บริการประชาชนอย่างไง
ตอบ เทคโนโลยีสารสนเทศมีความเป็นไปได้ในการปรับปรุงคุณภาพ ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการให้บริการสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาประยุกต์กับการให้บริการด้านสาธารณสุขเพื่อรวบรวม จัดเก็บ ค้นคืน และถ่ายโอนข้อมูลในระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้
2. จงอธิบายแนวโน้มการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในอนาคต
ตอบ  1. มนุษย์จะใช้เสียงพูด ใบหน้าและดวงตาแทนรหัสผ่าน
   2. มนุษย์สามารถใช้สมองสั่งงานแลปท็อป (laptop) และโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้
   3. ทุกคนสามารถเข้าข้อมูลต่างๆ ได้ทุกที่ทุกเวลาด้วยเทคโนโลยีโมบาย
   4. คอมพิวเตอร์จะคัดกรองข้อมูลสำคัญให้สอดคล้องกับความต้องการและพฤติกรรมของผู้ใช้
3. จงอธิบายแนวโน้มระบบสื่อสารโทรคมนาคม
ตอบ โทรคมนาคม ( Telecommunications) หมายถึง การสื่อสารข้อมูลระยะทางไกลในรูปแบบสัญญาณอีเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในอดีตระบบโทรคมนาคมให้บริการในรูปแบบของสัญญาณเสียงผ่านสายโทรศัพท์ที่เรียกกันว่าสัญญาณในระบบ  อนาลอก (Analog Signal) แต่ในปัจจุบันสัญญาณโทรคมนาคมกำลังจะกลายเป็นการถ่ายทอดสัญญาณในรูปแบบ  ดิจิตอล (Digital Signal) ทั้งหมด  
1.เครือข่ายสังคมออนไลน์ หมายถึงเว็บไซต์ให้บริการผู้ใช้ให้สามารถสร้างเว็บ โฮมเพจของตน
2.โซเชียลคอมเมิรซ์ คือการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการค้าขาย
4. จงอธิบายการทำงานกับการใช้ข่าวสาระบบฐานเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
ตอบ 1.การปฏิรูปการทำงานกับการใช่ข่าวสารบนฐานเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
        1.1 การปฏิรูปรูปแบบการทำงานขององค์กร เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการปฏิรูปรูปแบบของการทำงาน เช่น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสื่อสารกันในองค์กรด้วย อีเมล กรุ๊ปแวร์
        1.2 มีการจัดการเชิงกลยุทธ์ เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ในการสนับสนุนการจัดการเชิงกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
        1.3 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการทำงาน เพื่อให้การทำงานคล้องตัวและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
        1.4 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างคุณค่าให้กับองค์กรในอนาคตเทคโนโลยีสารสนเทศจะถูกนำมาใช้เพื่อสร้างคุณค่าให้กับองค์กร
2.การปรับตัวขององค์กรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
        การพัฒนาเทคโนโลยีขององค์การจะขึ้นอยู่กับผู้บริการเป็นสำคัญ โดยที่ผู้บริหารองค์กรจะต้องเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้
        2.1 ทำความเข้าใจต่อบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจปัจจุบัน เพื่อให้สามารถนำความรู้ต่างๆมาประยุกต์ใช้กับงานที่กำลังทำอยู่
        2.2 วางแผนระบบสารสนเทศ เองให้การดำเนินการสร้างหรือพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรภายใต้งบประมาณและระยะเวลาที่กำหนดไว้
         2.3 พัฒนาระบบสารสนเทศเกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลหรือความรู้ขององค์กรนักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้จะศึกษาหรือพิจารณาถึงข้อมูลและข่าวสารต่างๆ ที่องค์กรต้องการและใช้ในการดำเนินงานอยู่ประจำ
         2.4 พัฒนาศักยภาพของบุคคลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น