วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สรุปข่าว IT ข่าวที่ 4

ฤดูกาลล่าแสตมป์เดือด! 
"เทสโก้-เซเว่น" เปิดศึกชิงลูกค้า


        ปลายเดือนกรกฏาคมของทุกปีถือเป็นการเข้าสู่ "ฤดูกาลล่าแสตมป์" เพราะเจ้าตลาดสะดวกซื้อ "เซเว่นอีเลฟเว่น" และเป็นรายแรกๆ ที่จุดกระแสสะสมแสตมป์ จะใช้จังหวะนี้คิกออฟแคมเปญออกมาสร้างสีสัน ซึ่ง 3-4 ปีที่ผ่านมามีผู้เล่นรายใหม่ๆ กระโดดเข้ามาท้าชิงอย่างต่อเนื่อง ทั้ง เทสโก้โลตัส เอ็กซ์เพรส และ แฟมิลี่มาร์ท  ส่งผลให้ดีกรีการแข่งขันทวีความดุเดือดยิ่งขึ้น  จึงไม่แปลกใจว่า การกลับมาของ "แสตมป์เซเว่น" ปีนี้ จึงทุ่มเต็มที่จัดหนักทุกมิติ ตั้งแต่คว้า 2 ซุปตาร์ "ณเดชน์" และ "ญาญ่า" มาช่วยสร้างการจดจำ พร้อมแมสเซจที่นำมาใช้ย้ำภาพลักษณ์ "แสตมป์ ตัวจริง" ผ่านข้อความในโฆษณา อาทิ แจกแสตมป์ ใครๆ ก็ทำได้ แต่แฟนแสตมป์ตัวจริงเท่านั้น ถึงจะรู้ว่าแสตมป์มีหนึ่งเดียว ท่ามกลางการแข่งขันในตลาดของฝั่ง "เทสโก้โลตัส เอ็กซ์เพรส" โมเดลร้านมินิซูเปอร์มาร์เก็ตของเทสโก้ที่กระหน่ำส่งแคมเปญแสตมป์ออกมาถี่ หรือจากที่เคยจัดปีละครั้งก็กลายเป็นว่าหลังจบแคมเปญ อีก 1 อาทิตย์ถัดมาก็ยิงแคมเปญแสตมป์ชุดใหม่ออกมาให้ได้สะสมกันต่อทันที ล่าสุดหลังจบแคมเปญแสตมป์ "สนูปี้" เมื่อวันที่ 3 กรกฏาคมที่ผ่านมา ก็เดินหน้าส่งแสตมป์ "โดราเอมอน" ออกมาในวันที่ 14 กรกฏาคม
       เซเว่นยังเพิ่มความแรงให้กับของพรีเมียมด้วยคอลเลคชั่นขบวนการ์ตูน คาแรกเตอร์ที่ยกกันมามากมาย ทั้ง Sanrio characters และ LINE FRIENDS เกทับโลตัสเอกซ์เพรสที่ใช้โดราเอมอน รวมถึงเพิ่มลูกเล่นดึงคนรุ่นใหม่ผ่าน “เอ็ม แสตมป์” ให้สะสมแสตมป์ในแอพฯ7-eleven และฟังก์ชั่นใหม่สามารถโอนแสตมป์ให้กันได้ พร้อมเรียกกระแสด้วยการแจก M Stamp ฟรี มูลค่ารวม 10 ล้านบาทให้ผู้ดาวน์โหลดหรืออัพเดทแอพฯและลงทะเบียน M Stamp 1 ล้านคนแรก คนละ 10บาท
        แถมในเฟซบุ๊กยังส่งสูตรลับโกยแสตมป์ จัดอันดับ 10 สินค้าแจกแสตมป์สุดคุ้ม แจกแจงละเอียดตั้งแต่ราคาสินค้าและจำนวนแสตมป์ที่ได้รับ พร้อมบรรดาสินค้าที่มาร่วมแจกแสตมป์จัดหนักกว่าเดิม อาทิ ข้าวหอมผสมตราฉัตร 1 ถุง 79 บาท แจกแสตมป์ดวงละ 3 บาท 7 ดวง แต่ถ้าซื้อ 2 ถุง รับ 15 ดวง
อย่างไรก็ตาม แคมเปญแสตมป์ของ “เทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส” ก็แรงไม่แพ้กัน

        "สลิลลา สีหพันธุ์" รองประธานกรรมการฝ่ายกิจการบรรษัทเทสโก้โลตัส บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เพื่อให้สะสมแสตมป์ได้ง่ายและเร็ว จึงได้แจกแสตมป์เพิ่มกว่า 600 รายการ ตั้งแต่ของกินของใช้ จนถึง ซิมการ์ด หรือ ประกันภัย ยังมีโปรโมชั่น extra stamp ให้นักสะสมได้รับแสตมป์เพิ่มจากสินค้าหลายรายการ และ สินค้าโปรโมชั่นรับแสตมป์เพิ่มรายวันอีกด้วย
        "ครั้งนี้ยังมีสินค้ากลุ่มอาหารเข้าร่วมแคมเปญเพิ่มขึ้น อาทิ ไข่ไก่ ซึ่งเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็นและลูกค้าต้องซื้ออยู่แล้ว"  ทั้งยังปรับเงื่อนไขให้สามารถแลกของพรีเมียมได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยลดจำนวนแสตมป์ขั้นต่ำที่ต้องสะสมใช้แลกจาก 120 ดวงขึ้นไป เหลือเพียง 90 ดวง
        "เพิ่ม value top-up ต่อยอดจากของพรีเมี่ยมที่แลกไปแล้ว อย่างกระบอกน้ำและกล่องใส่อาหารนำมาเติมน้ำอัดลมได้ในราคา 10 บาท กล่องใส่อาหารนำมาแลกซื้อขนมปังใส่ใส้ 2 ชิ้นได้ในราคา 19 บาท"
ครั้งนี้ "เทสโก้" ยังเพิ่มลูกเล่นโปรโมตแคมเปญในรูปแบบใหม่ ด้วยการออกไปจัดกิจกรรมออนกราวด์ ระหว่าง 29-31 กรกฏาคมที่สยามสแควร์ ตั้ง POP UP Store แจกของรางวัล ลุ้นแสตมป์โดราเอมอน ต่างก็ทุ่มกันเต็มที่ เพราะแคมเปญแสตมป์ สร้างทั้งกระแสการกล่าวถึงแบรนด์ และ ยอดขาย
      "จักรกฤษณ์ จตุปัญญาโชติกุล" รองกรรมการผู้จัดการแผนกการตลาด เทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส กล่าวก่อนหน้านี้ว่า หลังลอนส์แคมเปญแสตมป์พบว่าผู้บริโภคมีการสวิตชิ่งจากรีเทลที่อื่นมาใช้บริการเทสโก้โลตัส เอ็กซ์เพรสถึง 30 % ซื้อเพิ่มขึ้นจาก 2 ชิ้นเป็น 3-4 ชิ้น เพื่อให้แลกได้เร็วขึ้น  ขณะที่ที่ผ่านมา "แสตมป์" เป็นหนึ่งในคีย์ซัสเซสที่ช่วยผลักดันยอดขายให้เซเว่น ซึ่งโยกเวลาจัดแคมเปญมาอยู่ในช่วง "นอกฤดูกาลขาย" จากปกติจัดช่วงพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ปรับมาเริ่มปลายเดือนกรกฎาคม เพื่อกระตุ้นยอดขายช่วงโลว์ซีซั่น  แคมเปญเพิ่งเดินเครื่อง จึงต้องจับตาต่อไปว่า "แคมเปญ" ใครจะแรงโดนใจและดึงลูกค้า หรือจะต้องมีกิมมิคอะไรออกมาเสริมทัพ  แต่ที่แน่นอน ฤดูล่าแสตมป์กลับมาแล้ว พร้อมปลุกมู้ดและกระตุ้นการจับจ่ายคึกคัก  

สรุปเนื้อหาบทที่ 7 (คำถามท้ายบทที่ 7)

บทที่ 7
การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต
   เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทเข้ามาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันของทุกคนตั้งแต่การเรียนรู้ การประกอบอาชีพ การดูแลรักษาสุขภาพ การพักผ่อนหย่อนใจ จึงทำให้ทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้และปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง
การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษา
1.e-Laerning
    การพัฒนาการศึกษาโดยทำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าประยุกต์เพื่อให้เกิดรูปแบบการศึกษาแบบใหม่ที่สามารถรับรองรูปแบบการศึกษาด้วยตนเอง การศึกษาตลอดชีวิต การนำคอมพิวเตอร์และเครือข่ายการสื่อสารโดนเฉพาะอินเทอร์เน็ตมาเป็นตัวช่วยในการเพิ่มความสะดวกสบายในการเรียนรู้ การวัดผล และการจัดการศึกษาเพื่อทดแทนหรือสนับสนุนการศึกษาแบบเดิม ตัวแบบการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสานประกอบด้วย
11.e-laerning map การเรียนโดยการออกแบบแผนที่การเรียนเฉพาะบุคคลซึ่งใช้ข้อมูลจากการทดสอบเบื้องต้น
22. on-line e-laerning มี 2 ตัวเลือก คือ การถ่ายทอดกับการถ่ายข้อมูลลงแบบออนไลน์
33. e-laerning group ทรัพยากรในชุมชนการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนกันได้โดยใช้เครื่องแม่ข่ายของกลุ่มข่าว เป็นการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนในการปฏิสัมพันธ์หรือแลกเปลี่ยนข่าวสารได้ทั้งภาพและเสียง
44. e-comprehension กระบวนการเรียนรู้ผ่านการสร้างสถานการณ์ กรณีศึกษา โดยใช้ข้อความหลายมิติ เว็บไซต์ มัลติมีเดีย คำถาม และอื่นๆ
55. e-illustration การใช้ภาพประกอบ แผนภาพ และมัลติมีเดีย เพื่อเป็นการยกตัวอย่างประกอบอธิบายให้ชัดเจน
66. e-workgroup แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มต่างๆ และจัดกิจกรรมทั้งภายในและระหว่างกลุ่มเพื่อให้ได้ผลการเรียนรู้ร่วมกัน
2  2. มัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้
     มัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ หมายถึง การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ถ่ายทอดหรือนำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอน ที่บูรณาการหรือผสมผสานสื่อหลากหลายรูปแบบเข้าไว้ด้วยกันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง เสียง นำเสนตามขั้นตอนกระบวนการเรียนการสอนได้ 9 ขั้นดังนี้
1.            การกระตุ้นหรือเร้าความสนใจให้พร้อมในการเรียน
2.            การแจ้งวัตถุประสงค์ของการเรียน
3.            การบททวนและกระตุ้นให้ระลึกถึงความรู้เดิม
4.            การนำเสนอสิ่งเร้าหรือเนื้อหาและความรู้ใหม่
5.            การแนะแนวทางการเรียนรู้
6.            การกระตุ้นการตอบสนองหรือแสดงความสามารถ
7.            การให้ข้อมูลป้อนกลับ
8.            การทดสอบความรู้หรือการประเมินผลการแสดงออก
9.            การส่งเสริมความจำหรือความคงทน และการนำไปใช้หรือถ่ายโอนการเรียนรู้
3.Virtual Classroom
       ห้องเรียนเสมือนเป็นห้องเรียนที่สามารถรองรับชั้นเรียนได้ในเวลาและสถานที่ซึ่งผู้เรียนกับผู้สอนไม่ได้อยู่ร่วมกันในสถานที่เดียวกัน คุณลักษณะคือการสนับสนุนการประเมินผลและการเข้ามีส่วนร่วมในการสื่อสารด้วยเครื่องมือต่างๆ
 4.Mobile Technology
       โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถรองรับทั้งการรับ-ส่งข้อมูลด้วยเสียงและข้อความ โดยจำกัดข้อจำกัดด้านความสามารถของการส่งเนื้อหาที่เป็นวิดีโอได้ สามารถนำมาเชื่อมต่อได้ทั้งเทคโนโลยีภาพเคลื่อนไหว เสียง สามารถแปลงเข้าสู่อุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้
 การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับสังคม
1.การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานสาธารณสุข
          เทคโนโลยีสารสนเทศมีความเป็นไปได้ในการปรับปรุงคุณภาพ ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการให้บริการสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาประยุกต์กับการให้บริการด้านสาธารณสุขเพื่อรวบรวม จัดเก็บ ค้นคืน และถ่ายโอนข้อมูลในระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้
2.การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับศาสนา ศิลปวัฒนธรรม
  1. ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม ได้แก่ บุคคล องค์กรทางวัฒนธรรม
  2. บริการรับคำร้องและให้บริการงานด้านภาพยนตร์และวิดีโอทัศน์
  3. บริการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและเผยแพร่ข้อมูลทางศาสนา ของกรมศาสนา
  4. บริการข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมและงานแสดงด้านวัฒนธรรม สุนทรีย์
  5. บริการสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอย่างบูรณาการ
  6. บริการข้อมูลของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
  7. บริการข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์มรดกโลก
 3. การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม
        กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้มีการวางแผนยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกระทรวงฯ รวมทั้งการจัดทำเว็บไซต์การเผยแพร่ข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นช่องทางในการสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับประชาชน
4. การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานบริการสังคม
      การพัฒนาระบบบริการภาครัฐได้มีการให้บริการสังคมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งการนำเทคโนโลยีมาให้บริการความรู้และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบถึงสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่ประชาชนได้รับจากภาครัฐ
 การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับธุรกิจ
1.e-Commerce
        พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื่อขายสินค้าและบริการ
2.e-Marketing
        การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ทันสมัยและสะดวกต่อการใช่งานที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาผสมผสานกับวิธีการทางการตลาด เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กรอย่างแท้จริง
3.M-Commerce
        กิจกรรมเชิงพาณิชย์ การบริการข่าวสาร การโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านอุปกรณ์และเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ การตลาดด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่จัดเป็นกลยุทธ์ด้านการตลาดแนวใหม่ที่นำเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่มาเป็นสื่อกลางในการสื่อสารกับกลุ่มเป่าหมายได้อย่างใกล้ชิด
การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับภาครัฐ
        รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ จัดเป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เป็นเครื่องมือของรัฐในการบริหารจัดการตามนโยบายและการให้บริการสู่ประชาชนเป็นหน้าที่ของรัฐที่พึงตอบสนองต่อเทคโนโลยีใหม่และสิ่งแวดล้อมใหม่ที่จะเกิดขึ้น
   ประโยชน์ของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
1.            การพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลและบริการที่ดีกว่าเดิมของประชาชน โดยบริการเป็ดเสร็จ ณ จุดเดียวและมีช่องทางการสื่อสารที่มาขึ้นโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์มาเสริม
2.            ปรับปรุงคุณภาพของการบริการ โดยสร้างความน่าเชื่อถือให้ดีกว่าเดิม เพื่อความรวดเร็ว สร้างความโปร่งใสของการให้บริการ
3.            การจัดการกระบวนการที่ดีขึ้น โดยเพิ่มกระแสสารสนเทศให้ไหลเวียนได้ดีขึ้น และมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนในงานต่างๆ
4.            มีระบบที่ดีขึ้น โดยมีเครื่องมือในการวิเคราะห์การบริการจัดการ การสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ดำเนินการ
5.            การกระจายอำนาจไปสู่ประชาชน
การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานบริการ
        เทคโนโลยีสารสนเทศกับการประยุกต์สำหรับงานบริการนั้น ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและก่อให้เกิดรูปแบบการให้บริการใหม่ๆ ที่สอดคล้องและตอบสนองความต้องการใหม่ๆของผู้ใช้งาน
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
        เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 2 องค์ประกอบ คือ เทคโนโลยีเพื่อการประมวล คือ ระบบคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีเพื่อการเผยแพร่ คือระบบสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีอื่นๆ
1.ระบบคอมพิวเตอร์
        ระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ และซอฟแวร์ซึ่งในอนาคตคาดว่าจะมีแนวโน้มการใช้งานดังนี้
        1.1 ฮาร์ดแวร์
        1.2 ซอฟแวร์
        1.3 คลาวด์คอมพิวติ้ง
2.ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
        2.1 เครือข่ายสังคมออนไลน์ หมายถึงเว็บไซต์ให้บริการผู้ใช้ให้สามารถสร้างเว็บ โฮมเพจของตน
        2.2 โซเชียลคอมเมิรซ์ คือการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการค้าขาย
3.นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในอีก 5 ปีข้างหน้า
        3.1 การสร้างพลังงานขึ้นเองเพื่อใช้ภายในบ้าน
        3.2  มนุษย์จะใช้เสียงพูด ใบหน้าและดวงตาแทนรหัสผ่าน
        3.3 มนุษย์สามารถใช้สมองสั่งงานแลปท็อป (laptop) และโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้
        3.4 ทุกคนสามารถเข้าข้อมูลต่างๆ ได้ทุกที่ทุกเวลาด้วยเทคโนโลยีโมบาย
        3.5 คอมพิวเตอร์จะคัดกรองข้อมูลสำคัญให้สอดคล้องกับความต้องการและพฤติกรรมของผู้ใช้
การปฏิรูปการทำงานกับการใช้ข่าวสารบนฐานเทคโนโลยีในอนาคต
1.การปฏิรูปการทำงานกับการใช่ข่าวสารบนฐานเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
        1.1 การปฏิรูปรูปแบบการทำงานขององค์กร เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการปฏิรูปรูปแบบของการทำงาน เช่น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสื่อสารกันในองค์กรด้วย อีเมล กรุ๊ปแวร์
        1.2 มีการจัดการเชิงกลยุทธ์ เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ในการสนับสนุนการจัดการเชิงกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
        1.3 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการทำงาน เพื่อให้การทำงานคล้องตัวและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
        1.4 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างคุณค่าให้กับองค์กรในอนาคตเทคโนโลยีสารสนเทศจะถูกนำมาใช้เพื่อสร้างคุณค่าให้กับองค์กร
2.การปรับตัวขององค์กรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
        การพัฒนาเทคโนโลยีขององค์การจะขึ้นอยู่กับผู้บริการเป็นสำคัญ โดยที่ผู้บริหารองค์กรจะต้องเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้
        2.1 ทำความเข้าใจต่อบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจปัจจุบัน เพื่อให้สามารถนำความรู้ต่างๆมาประยุกต์ใช้กับงานที่กำลังทำอยู่
        2.2 วางแผนระบบสารสนเทศ เองให้การดำเนินการสร้างหรือพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรภายใต้งบประมาณและระยะเวลาที่กำหนดไว้
        2.3 พัฒนาระบบสารสนเทศเกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลหรือความรู้ขององค์กรนักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้จะศึกษาหรือพิจารณาถึงข้อมูลและข่าวสารต่างๆ ที่องค์กรต้องการและใช้ในการดำเนินงานอยู่ประจำ
        2.4 พัฒนาศักยภาพของบุคคลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี

คำถามท้ายบทที่ 7
1. เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสาธารณสุขมีความสำคัญกับการให้บริการประชาชนอย่างไง
ตอบ เทคโนโลยีสารสนเทศมีความเป็นไปได้ในการปรับปรุงคุณภาพ ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการให้บริการสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาประยุกต์กับการให้บริการด้านสาธารณสุขเพื่อรวบรวม จัดเก็บ ค้นคืน และถ่ายโอนข้อมูลในระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้
2. จงอธิบายแนวโน้มการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในอนาคต
ตอบ  1. มนุษย์จะใช้เสียงพูด ใบหน้าและดวงตาแทนรหัสผ่าน
   2. มนุษย์สามารถใช้สมองสั่งงานแลปท็อป (laptop) และโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้
   3. ทุกคนสามารถเข้าข้อมูลต่างๆ ได้ทุกที่ทุกเวลาด้วยเทคโนโลยีโมบาย
   4. คอมพิวเตอร์จะคัดกรองข้อมูลสำคัญให้สอดคล้องกับความต้องการและพฤติกรรมของผู้ใช้
3. จงอธิบายแนวโน้มระบบสื่อสารโทรคมนาคม
ตอบ โทรคมนาคม ( Telecommunications) หมายถึง การสื่อสารข้อมูลระยะทางไกลในรูปแบบสัญญาณอีเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในอดีตระบบโทรคมนาคมให้บริการในรูปแบบของสัญญาณเสียงผ่านสายโทรศัพท์ที่เรียกกันว่าสัญญาณในระบบ  อนาลอก (Analog Signal) แต่ในปัจจุบันสัญญาณโทรคมนาคมกำลังจะกลายเป็นการถ่ายทอดสัญญาณในรูปแบบ  ดิจิตอล (Digital Signal) ทั้งหมด  
1.เครือข่ายสังคมออนไลน์ หมายถึงเว็บไซต์ให้บริการผู้ใช้ให้สามารถสร้างเว็บ โฮมเพจของตน
2.โซเชียลคอมเมิรซ์ คือการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการค้าขาย
4. จงอธิบายการทำงานกับการใช้ข่าวสาระบบฐานเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
ตอบ 1.การปฏิรูปการทำงานกับการใช่ข่าวสารบนฐานเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
        1.1 การปฏิรูปรูปแบบการทำงานขององค์กร เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการปฏิรูปรูปแบบของการทำงาน เช่น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสื่อสารกันในองค์กรด้วย อีเมล กรุ๊ปแวร์
        1.2 มีการจัดการเชิงกลยุทธ์ เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ในการสนับสนุนการจัดการเชิงกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
        1.3 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการทำงาน เพื่อให้การทำงานคล้องตัวและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
        1.4 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างคุณค่าให้กับองค์กรในอนาคตเทคโนโลยีสารสนเทศจะถูกนำมาใช้เพื่อสร้างคุณค่าให้กับองค์กร
2.การปรับตัวขององค์กรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
        การพัฒนาเทคโนโลยีขององค์การจะขึ้นอยู่กับผู้บริการเป็นสำคัญ โดยที่ผู้บริหารองค์กรจะต้องเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้
        2.1 ทำความเข้าใจต่อบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจปัจจุบัน เพื่อให้สามารถนำความรู้ต่างๆมาประยุกต์ใช้กับงานที่กำลังทำอยู่
        2.2 วางแผนระบบสารสนเทศ เองให้การดำเนินการสร้างหรือพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรภายใต้งบประมาณและระยะเวลาที่กำหนดไว้
         2.3 พัฒนาระบบสารสนเทศเกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลหรือความรู้ขององค์กรนักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้จะศึกษาหรือพิจารณาถึงข้อมูลและข่าวสารต่างๆ ที่องค์กรต้องการและใช้ในการดำเนินงานอยู่ประจำ
         2.4 พัฒนาศักยภาพของบุคคลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สรุปเนื้อหาบทที่ 6 (คำถามท้ายบทที่ 6)

บทที่6
กฎหมาย จริยธรรม และความปลอดภัย
ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
        1. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีทั้งสิ้น 30 มาตราแบ่งโครงสร้างออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนทั่วไป ส่วนที่ 2 ว่าด้วยฐานความผิดและบทลงโทษผู้กระทำความผิดและส่วนที่ 3 ที่เป็นการกำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ และหน้าที่ของผู้ให้บริการ ในส่วนต่อไปจะกล่าวถึงรูปแบบการกำหนดการกระทำผิดในพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งมีมาตราต่างๆ เพื่อรองรับรูปแบบการกระทำผิดด้วย
        2.พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
กฎหมายส่วนใหญ่รับรองธุรกรรมที่มีลายมือชื่อบนเอกสารที่เป็นกระดาษ ทำให้เป็นปัญหาต่อการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ประเทศต่างๆ รวมทั้งไทยจึงต้องสร้างกฎหมายใหม่ เพื่อให้การรองรับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ ทั้งนี้กฎหมายของประเทศส่วนใหญ่ถูกสร้างบนแม่แบบที่กำหนดโดยคณะทำงานสหประชาชาติ (UNCITRAL) สำหรับประเทศไทยมีพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 และมีผลบังคับใช่ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.2545 โดยคณะกรรมการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นผู้ดูแลการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้
        3.กฎมายลิขสิทธิ์ และการใช้งานโดยธรรม (Fair Use)
กฎหมายลิขสิทธิ์ภายใต้พระราชบัญญัติ พ.ศ.2537 ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการใช้งานโดยธรรม ก็คือมาตรา 15 ที่มีสาระสำคัญในการคุ้มครองลิขสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ เช่น สิทธิในการทำซ้ำหรือดัดแปลงงาน การเผยแพร่งานต่อสาธารณชน และให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานบางประเภท เป็นต้น ดังนั้นลิขสิทธิ์จึงเป็นสิทธิแต่ผู้เดียว ของเจ้าของลิขสิทธิ์ อันเกิดจากงานสร้างสรรค์ที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ นอกจากนี้ก็มีมาตรา 32 ถึง มาตรา 36 และมาตรา 43 ในหมวด 1 ส่วนที่ 6 ว่าด้วยข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ให้สามารถนำข้อมูลของผู้อื่นมาใช้โดยไม่ต้องขออนุญาต หรือเป็นการใช้งานโดยธรรม

จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1.ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
ความเป็นส่วนตัว คือสิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น
2.ความถูกต้องแม่นยำ (Information Accuracy)
ความถูกต้องแม่นยำในการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต นับว่าให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะข้อมูลดังกล่าวจะเผยแพร่อย่างรวดเร็ว และเข้าถึงได้ง่าย
3.ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
ความเป็นเจ้าของเป็นกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ และที่จับต้องไม่ได้ เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา บทเพลง
4.การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
การเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว เพราะบางครั้งในการเข้าถึงข้อมูล การเข้าใช้บริการระบบหรือเว็บไซต์ในหน่วยงาน หรือองค์กรจะมีการกำหนดสิทธิ์ว่าใครมีสิทธิ์ในการเข้าใช้ข้อมูล

รูปแบบการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
1.การเข้าถึงระบบและข้อมูลคอมพิวเตอร์
โดยรูปแบบการกระทำผิดมีรายละเอียดดังนี้
        1.1สปายแวร์ เป็นโปรแกรมที่อาศัยช่องทางการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตขณะที่เราท่องเว็บไซต์บางเว็บหรือทำการดาวน์โหลดข้อมูล
        1.2สนิฟเฟอร์ คือโปรแกรมที่คอยดักฟังการสนทนาบนเครือข่าย รวมถึงการดักจับแพ็กเก็ตในเครือข่าย
        1.3ฟิชชิ่ง เป็นการหลอกลวงเหยื่อเพื่องล่วงเอาข้อมูลส่วนตัว โดยการส่งอีเมลหลอกลวงเพื่อขอข้อมูลส่วนตัว
2.การรบกวนระบบและข้อมูลคอมพิวเตอร์
รายละเอียดการโจมตีระบบและข้อมูลคอมพิวเตอร์มีดังนี้
        2.1ไวรัสคอมพิวเตอร์ เป็นโปรมแกรมชนิดหนึ่งที่พัฒนาขึ้นเพื่อก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูล
        2.2ดิไนออล อ๊อฟ เซอร์วิส เป็นการโจมตีจากผู้บุกรุกที่ต้องการทำให้เกิดภาวะที่ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถให้บริการได้
3.สารสแปม (จดหมายบุกรุก)
เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมลไปให้บุคคลอื่น โดยการซ้อนหรือปลอมชื่อ อีเมล และหากการส่งอีเมลไปให้ผู้รับคนใดคนหนึ่งมากเกินปกติ ก็ถือว่าเป็นการส่งอีเมลสแปมเช่นกัน
4.การใช้โปรมแกรมเจาะระบบ (Hacking Tool)
การแฮกระบบ เป็นการเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการรักษาความปลอดภัยไว้ ให้สามารถเข้าใช้ได้สำหรับผู้ที่อนุญาตเท่านั้น ส่วนผู้ที่เข้าสู่ระบบโดยไม่ได้รับอนุญาตจะเรียกว่า แฮกเกอร์ ซึ่งวิธีการที่แฮกเกอร์ใช้ในการเจาะระบบมีหลายวิธี เช่น การอาศัยช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ
5.การโพสต์ข้อมูลเท็จ
สำหรับการโพสต์ข้อมูลเท็จ หรือการใส่ร้าย กล่าวหาผู้อื่น การหลอกลวงผู้อื่นให้หลงเชื่อ หรือการโฆษณาชวนเชื่อใดๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม
6.การตัดต่อภาพ
ความผิดฐานการตัดต่อภายให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายการกระทำผิดรวมถึงการแต่งเติมรูปภาพด้วยวิธีใดๆ จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำได้รับความเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกเกลียดชังหรือได้รับความอับอาย

การรักษาความปลอดภัยในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
มีรายละเอียดดังนี้
1.แนวทางป้องกันสปายแวร์ 
        1.1ไม่คลิกลิงค์บนหน้าต่างเล็กของป๊อบอัพโฆษณา ให้รีบปิดหน้าต่างโดยคลิกที่ปุ่ม    “ X ”
        1.2ระมัดระวังอย่างมากในการดาวน์โหลดซอฟแวร์ที่จัดให้ดาวน์โหลดฟรี โดยเฉพาะ
        1.3ไม่ควรติดตามอีเมลลิงค์ที่ให้ข้อมูลว่ามีการเสนอซอฟแวร์ป้องกันสปายแวร์
2.แนวทางป้องกันภัยจากสนิฟเฟอร์
การป้องกันสนิฟเฟอร์วิธีที่ดีที่สุดที่สามารถป้องกันการดักฟัง หรือการดักจับแพ็กเก็ตทางออนไลน์ ก็คือ การเข้ารหัสข้อมูล โดยทำได้ดังนี้
        2.1SSL ใช้ในการเข้ารหัสข้อมูลผ่านเว็บ ส่วนใหญ่จะใช้ในธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
        2.2SSH ใช้ในการเข้ารหัสเพื่อเข้าไปใช้งานบนระบบยูนิกซ์ เพื่อป้องกันการดักจับ
        2.3VPN เป็นการเข้ารหัสข้อมูลที่ส่งผ่านทางอินเทอร์เน็ต
        2.4PGP เป็นวิธีการเข้ารหัสของอีเมล แต่ที่นิยมอีกวิธีหนึ่งคือ S/MIME
3.แนวทางป้องกันภัยจากฟิชชิ่ง ทำได้ง่ายๆดังนี้
        3.1หากอีเมลส่งมาในลักษณะของข้อมูลควรติดต่อและสอบถามด้วยตนเอง เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกหลอกเอาข้อมูลไป
        3.2ไม่คลิกลิงค์ที่แฝงมากับอีเมลไปยังเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ
4.แนวทางป้องกันภัยจากไวรัสคอมพิวเตอร์   สามารถทำได้ดังนี้
        4.1ติดตั้งซอฟแวร์ป้องกันไวรัสบนระบบคอมพิวเตอร์
        4.2ตรวจสอบและอุดช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอ
        4.3ใช้ความระมัดระวังในการเปิดอ่านอีเมล
5.แนวทางป้องกันภัยการโจมตีแบบ Dos  มีดังนี้
        5.1ใช้กฎฟิลเตอร์แพ็กเก็ตบนเราเตอร์สำหรับกรองข้อมูล
        5.2ติดตั้งซอฟแวร์เพิ่มเติมในการแก้ไขปัญหาของการโจมตี
        5.3ปิดบริการบนระบบที่ไม่มีการใช้งานหรือบริการเปิดโดยดีฟอลต์
        5.4นำระบบกำหนดโควตามาใช้
6.แนวทางป้องกันสแปมหรือจดหมายบุกรุก   มีรายละเอียดดังนี้
        6.1แจ้งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบล็อกอีเมลที่มาจากชื่ออีเมลหรือโดเมนนั้นๆ
        6.2ตั้งค่าโปรแกรมอีเมลที่ใช่บริการอยู่โดยสามารถกำหนดได้ว่าให้ลบ
        6.3กำหนดขนาดของอีเมลบอกซ์ของแต่ละแอคเคาท์ว่าสามารถเก็บอีเมลได้สูงสุดเท่าใด
7.การป้องกันภัยจากการเจาะระบบ  มีแนวทางป้องกันโดนใช้ไฟร์วอลล์ ซึ่งไฟร์วอลล์อาจจะอยู่ในรูปของฮาร์ดแวร์หรือซอฟแวร์ก็ได้โดยเปรียบเสมือนยามเผ้าประตุที่จะเข้าสู่ระบบ

แนวโน้มด้านความปลอดภัยในอนาคต
1.เกิดข้อบังคับในหลายหน่วยงานในการเข้ารหัสเครื่องคอมพิวเตอร์แลปท็อป
2.ปัญหาความปลอดภัยของข้อมูลใน PDA สมารทโฟน และ iPhone
3.การออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล
4.หน่วยงานภาครัฐที่สำคัญเป็นเป้าหมายการโจมตีของแฮกเกอร์
5.หนอนอินเทอร์เน็ต (Worms) บนโทรศัพท์มือถือ
6.เป้าหมายการโจมตี VoIP (Voice over IP) มีมากขึ้น
7.ภัยจากช่องโหว่แบบซีโร-เดย์ (Zero-Day) ลักษณะของช่องโหว่แบบ Zero-Day คือช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการหรือซอฟแวร์ต่างๆ
8.Network Access Control (NAC) มีบทบาทสำคัญมากขึ้นในองค์กร NAC นับว่าเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาใช้มากขึ้นในองค์กรเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระขององค์กรในการจัดการปัญหาที่บุคคลในองค์กรรำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้รับอนุญาต

คำถามท้ายบทที่ 6
1. จงระบุความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศบนพื้นฐานของคุณธรรม  จริยธรรม
ตอบ  1.ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)  ความเป็นส่วนตัว คือสิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น
        2.ความถูกต้องแม่นยำ (Information Accuracy) ความถูกต้องแม่นยำในการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต นับว่าให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะข้อมูลดังกล่าวจะเผยแพร่อย่างรวดเร็ว และเข้าถึงได้ง่าย
        3.ความเป็นเจ้าของ (Information Property) ความเป็นเจ้าของเป็นกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ และที่จับต้องไม่ได้ เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา บทเพลง
        4.การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)  การเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว เพราะบางครั้งในการเข้าถึงข้อมูล การเข้าใช้บริการระบบหรือเว็บไซต์ในหน่วยงาน หรือองค์กรจะมีการกำหนดสิทธิ์ว่าใครมีสิทธิ์ในการเข้าใช้ข้อมูล 

2. หากเพื่อนของนักศึกษาได้ประสบรูปแบบการโจมตีแบบสนิฟเฟอร์ นักศึกษาจะมีแนวทางป้องกันภัยจากการโจมตีรูปแบบนี้อย่างไร
ตอบ  แนวทางป้องกันภัยจากสนิฟเฟอร์  การป้องกันสนิฟเฟอร์วิธีที่ดีที่สุดที่สามารถป้องกันการดักฟัง หรือการดักจับแพ็กเก็ตทางออนไลน์ ก็คือ การเข้ารหัสข้อมูล โดยทำได้ดังนี้
        2.1SSL ใช้ในการเข้ารหัสข้อมูลผ่านเว็บ ส่วนใหญ่จะใช้ในธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
        2.2SSH ใช้ในการเข้ารหัสเพื่อเข้าไปใช้งานบนระบบยูนิกซ์ เพื่อป้องกันการดักจับ
        2.3VPN เป็นการเข้ารหัสข้อมูลที่ส่งผ่านทางอินเทอร์เน็ต
        2.4PGP เป็นวิธีการเข้ารหัสของอีเมล แต่ที่นิยมอีกวิธีหนึ่งคือ S/MIME

3. ให้อธิบายแนวโน้มรูปแบบการโจมตีระบบเครือข่ายในอนาคต
ตอบ 1.เกิดข้อบังคับในหลายหน่วยงานในการเข้ารหัสเครื่องคอมพิวเตอร์แลปท็อป
        2.ปัญหาความปลอดภัยของข้อมูลใน PDA สมารทโฟน และ iPhone
        3.การออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล
        4.หน่วยงานภาครัฐที่สำคัญเป็นเป้าหมายการโจมตีของแฮกเกอร์
        5.หนอนอินเทอร์เน็ต (Worms) บนโทรศัพท์มือถือ
        6.เป้าหมายการโจมตี VoIP (Voice over IP) มีมากขึ้น
        7.ภัยจากช่องโหว่แบบซีโร-เดย์ (Zero-Day) ลักษณะของช่องโหว่แบบ Zero-Day คือช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการหรือซอฟแวร์ต่างๆ
        8.Network Access Control (NAC) มีบทบาทสำคัญมากขึ้นในองค์กร NAC นับว่าเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาใช้มากขึ้นในองค์กรเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระขององค์กรในการจัดการปัญหาที่บุคคลในองค์กรรำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้รับอนุญาต

4. นักศึกษาจะมีวิธีการใช้ VoIP (Voice over IP) อย่างไรจึงจะปลอดภัยจากอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
ตอบ  เป้าหมายการโจมตี VoIP (Voice over IP) มีมากขึ้น เนื่องจาก VoIP เป็นเทคโนโลยีทางเลือกที่องค์กรนำมาใช้งานโทรศัพท์ระหว่างประเทศที่มีค่าใช้จ่ายน้อย  ลักษณะของ VoIP จะใช้เทคโนโลยีการส่งข้อมูลเสีบงบน IP โปรโตคอล รูปแบบการโจมตีจะมีสองลักษณะ คือ การทำให้ระบบ VoIP ไม่สามารถทำงานได้ และอีกรูปแบบหนึ่งคือ การขโมยข้อมูลเสียงที่ถูกส่งโดย VoIP หรือการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเสียงที่ถูกส่งโดย VoIP ก่อนที่จะไปถึงผู้ใช้  เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สรุปข่าว IT ข่าวที่ 3

ข่าวที่ 3
สำรวจสุดยอดแบรนด์
ที่ผู้บริโภคไทยเลือกซื้อสูงที่สุด


       กันตาร์ เผยผลวิจัยสุดยอดแบรนด์เลือกซื้อสูง โคคา-โคลา แชมป์แบรนด์ยอดฮิตระดับโลก

       นายฮาร์เวอร์ด ชาง กรรมการผู้จัดการ บริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล (ไทยแลนด์) เปิดเผยว่า จากรายงานชุดพิเศษ “Brand Footprint Report” ได้สรุปผลวิจัยและจัดอันดับแบรนด์ที่ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อสูงสุด จากแบรนด์ที่น่าสนใจกว่า1.5 หมื่นแบรนด์ทั่วโลก ในกลุ่มสินค้าที่มีอัตราการบริโภคสูง FMCG (Fast Moving Consumer Goods) 200 กลุ่ม ใช้ฐานกลุ่มตัวอย่างกว่า 4.12 แสนครัวเรือน ครอบคลุม 5 ทวีปทั่วโลก พบว่าโคคา-โคลา เป็นกลุ่มสินค้าที่ผู้บริโภคทั่วโลกเลือกซื้อมากที่สุดตามด้วยคอลเกต ไลฟ์บอย แม็กกี้ เลย์ เป๊ปซี่ เนสกาแฟ อินโด มี คนอร์ และโดฟ
     ขณะที่สุดยอดแบรนด์ที่ผู้บริโภคเลือกซื้อสูงสุดในไทย และผู้ค้าปลีกที่มีอัตราการถูกซื้อสูงสุด คือ กลุ่มเครื่องดื่ม ได้แก่ เนสกาแฟ กลุ่มอาหารเป็นของดัชมิลล์ กลุ่มสุขภาพและความงามเป็นของคอลเกต กลุ่มสินค้าในครัวเรือนเป็นของบรีสและกลุ่มผู้ค้าปลีกเป็นของเซเว่นอีเลฟเว่น

      นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังพบว่า โลคัลแบรนด์มีอัตราการเติบโตมากกว่าโกลบอลแบรนด์ เนื่องจากโลคัลแบรนด์ตอบสนองผู้บริโภคได้รวดเร็วและมีความเข้าใจผู้บริโภคได้ดีกว่า เพราะการพัฒนาสินค้าใหม่ของโกลบอลแบรนด์ต้องใช้เวลาถึง18 เดือน ขณะที่โลคัลแบรนด์ทำได้ทันที

สรุปเนื้อหาบทที่ 5 (คำถามท้ายบทที่ 5)

สรุปเนื้อหาบทที่ 5
เครือข่ายสังคมออนไลน์
        ในยุคที่การใช้เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  วิวัฒนาการการสื่อสารได้เปลี่ยนแปลงไปตามรูปแบบของการใช้เทคโนโลยี  การนำสื่อเทคโนโลยีสมันใหม่ที่เรยีกว่า เครือข่ายอินเทอร์เน็ต  มาประยุกต์ใช้ให้ตรงกับความต้องการของมนุษย์เริ่มมีบทบาทและมีอิทธิพลสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของมนุษย์ในปัจจุบัน  ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Facebook,Twitter,YouTube และ Blog เป็นต้น

ความหมายของเครือข่ายสังคมออนไลน์
        เครือข่ายสังคมออนไลน์ หมายถึง สังคมออนไลน์ที่มีการเชื่อมโยงกันเพื่อสร้างเครือข่ายในการตอบสนองความต้องการทางสังคมที่มุ่งเน้นในการสร้างและสะท้อนให้เห็นถึงเครือข่าย หรือความสัมพันธ์ทางสังคม ในกลุ่มคนที่มีความสนใจหรือมีกิจกรรมร่วมกัน บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จะให้บริการผ่านหน้าเว็บ และให้มีการตอบโต้กันระหว่างผู้ใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต
ความเป็นมาของเครือข่ายสังคมออนไลน์
    การเกิดขึ้นและเติบโตของเครือข่ายสังคมออนไลน์นี้มาจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตจากเว็บ 1.0 (เว็บเนื้อหา) มาสู่เว็บ 2.0 (เว็บเชิงสังคม) ซึ่งจุดเด่นของเว็บ 2.0 คือ การที่ผู้ใช้สามารถสร้างเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตได้เอง โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นทีมงานหรือผู้ดูแลเว็บไซต์ ซึ่งเรียกว่า User Generate Content ข้อดีของการที่ผู้ใช้เข้ามาสร้างเนื้อหาได้เอง ทำให้มีการผลิตเนื้อหาเข้ามาเป็นจำนวนมาก และมีความหลากหลายของมุมมองความคิด เพราะจากเดิมผู้ดูแลจะเป็นคนคิดและหาเนื้อหามาลงแต่เพียงกลุ่มเดียว
ประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์

         เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ให้บริการตามเว็บไซต์สามารถแบ่งขอบเขตตามการใช้งานโดยดูที่วัตถุประสงค์หลักของการเข้าใช้งาน และคุณลักษณะของเว็บไซต์ที่มีร่วมกัน กล่าวคือ วัตถุประสงค์ของการเข้าใช้งานมีเป้าหมายในการใช้งานไปในทางเดียวกันมีการแบ่งประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์ออกตามวัตถุประสงค์ของการเข้าใช้งาน ได้ 5 ประเภท

        1. สร้างและประกาศตัวตน (Identity Network) เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทนี้ใช้สำหรับให้ผู้เข้าใช้งานได้มีพื้นที่ในการสร้างตัวตนขึ้นมาบนเว็บไซต์ และสามารถที่จะเผยแพร่เรื่องราวของตนผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยลักษณะของ การเผยแพร่อาจจะเป็นรูปภาพ วิดีโอ การเขียนข้อความลงในบล็อก อีกทั้งยังเป็นเว็บที่เน้นการหาเพื่อนใหม่ หรือการค้นหาเพื่อนเก่าที่ขาดการติดต่อ

       2. สร้างและประกาศผลงาน (Creative Network) เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทนี้ เป็นสังคมสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการแสดงออกและนำเสนอผลงานของตัวเอง สามารถแสดงผลงานได้จากทั่วทุกมุมโลก จึงมีเว็บไซต์ที่ให้บริการพื้นที่เสมือนเป็นแกลเลอรี่ (Gallery) ที่ใช้จัดโชว์ผลงานของตัวเองไม่ว่าจะเป็นวิดีโอ รูปภาพ เพลง อีกทั้งยังมีจุดประสงค์หลักเพื่อแชร์เนื้อหาระหว่างผู้ใช้เว็บที่ใช้ฝากหรือแบ่งปัน โดยใช้วิธีเดียวกันแบบเว็บฝากภาพ แต่เว็บนี้เน้นเฉพาะไฟล์ที่เป็นมัลติมีเดีย ซึ่งผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ประเภทนี้ ได้แก่ YouTube, Flickr, Multiply, Photobucket และ Slideshare เป็นต้น

       3. ความชอบในสิ่งเดียวกัน (Passion Network) เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ทำหน้าที่เก็บในสิ่งที่ชอบไว้บนเครือข่าย เป็นการสร้าง ที่คั่นหนังสือออนไลน์ (Online Bookmarking) มีแนวคิดเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเก็บหน้าเว็บเพจที่คั่นไว้ในเครื่องคนเดียวก็นำมาเก็บไว้บนเว็บไซต์ได้ เพื่อที่จะได้เป็นการแบ่งปันให้กับคนที่มีความชอบในเรื่องเดียวกัน สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการเข้าไปหาข้อมูลได้ และนอกจากนี้ยังสามารถโหวตเพื่อให้คะแนนกับที่คั่นหนังสือออนไลน์ที่ผู้ใช้คิดว่ามีประโยชน์และเป็นที่นิยม ซึ่งผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ได้แก่ Digg, Zickr, Ning, del.icio.us, Catchh และ Reddit เป็นต้น

       4. เวทีทำงานร่วมกัน (Collaboration Network) เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ต้องการความคิด ความรู้ และการต่อยอดจากผู้ใช้ที่เป็นผู้มีความรู้ เพื่อให้ความรู้ที่ได้ออกมามีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเกิดการพัฒนาในที่สุด ซึ่งหากลองมองจากแรงจูงใจที่เกิดขึ้นแล้ว คนที่เข้ามาในสังคมนี้มักจะเป็นคนที่มีความภูมิใจที่ได้เผยแพร่สิ่งที่ตนเองรู้ และทำให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม เพื่อรวบรวมข้อมูลความรู้ในเรื่องต่างๆ ในลักษณะเนื้อหา ทั้งวิชาการ ภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ สินค้า หรือบริการ โดยส่วนใหญ่มักเป็นนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญ ผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ในลักษณะเวทีทำงานร่วมกัน ในลักษณะเวทีทำงานร่วมกัน เช่น Wikipedia, Google earth และ Google Maps เป็นต้น
        5. เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันระหว่างผู้ใช้ (Peer to Peer : P2P) เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์แห่งการเชื่อมต่อกันระหว่างเครื่องผู้ใช้ด้วยกันเองโดยตรง จึงทำให้เกิดการสื่อสารหรือแบ่งปันข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และตรงถึงผู้ใช้ทันที ซึ่งผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ประเภทนี้ ได้แก่ Skype และ BitTorrent เป็นต้น
ผู้ให้และผู้ใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์
กลุ่มผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์

1.  สร้างและประกาศตัวตน (Identity Network)
          - Facebook
          - Twitter
          - Bloggang
2.   สร้างและประกาศผลงาน (Creative Network)
          - YouTube
          - Flickr
3.   ความชอบหรือคลั่งไคล้ในสิ่งเดียวกัน (Passion Network)
          - Ning
          - Digg
          - Pantip
4.   เวทีทำงานร่วมกัน (Collaboration Network)
          - Wikipedia
          - Google Earth
5.   ประสบการณ์เสมือนจริง (Virtual Reality)
          - Second Life
          - World of Warcraft
6.   เครือข่ายเพื่อการประกอบอาชีพ (Professional Network) ลิงด์อิน (LinkedIn)
7.   เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันระหว่างผู้ใช้ (Peer to Peer : P2P)
          - Skype
          - BitTorrent


กลุ่มผู้ใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ 
1.   กลุ่ม Generation Z กลุ่มผู้มีอายุอยู่ระหว่าง 6-10 ปี ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ด้วยตนเองผ่านเกมออนไลน์
 
2.   กลุ่ม Generation Y และ Generation D (Digital) ผู้มีอายุระหว่าง 15-30 ปี จะใช้เพื่อความบันเทิงและการติดต่อสื่อสารระหว่างกลุ่มเพื่อน
 
3.   กลุ่ม Generation X ผู้มีอายุระหว่าง 30-45 ปี ใช้เป็นเครื่องมือทาง การสื่อสารการตลาด การค้นหาความรู้ การอ่านข่าวสารประจำวัน

เครือข่ายสังคมออนไลน์กับการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
     

1. ด้านการสื่อสาร (Communication)   
2. ด้านการศึกษา (Education)
   
3. ด้านการตลาด (Marketing)
   
4. ด้านบันเทิง (Entertainment)
   
5. ด้านสื่อสารการเมือง (Communication Political)

ผลกระทบของเครือข่ายสังคมออนไลน์
ผลกระทบเชิงบวก

  1. เป็นสื่อในการนำเสนอผลงานของตัวเอง
  2. ใช้ในการแบ่งปันข้อมูล รูปภาพ ความรู้ให้กับผู้อื่น
  3. เป็นเวทีแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ
  4. เป็นเครือข่ายกระชับมิตร สร้างความสัมพันธ์ที่ดีจากเพื่อนสู่เพื่อนได้
  5. ช่วยในการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ
  6. ช่วยในการพัฒนาชุมชน
  7. เป็นสื่อในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือบริการลูกค้าสำหรับบริษัทและองค์กรต่างๆ สร้างความเชื่อมั่น สร้างความสัมพันธ์ สร้างกิจกรรม
ผลกระทบเชิงลบ
  1. เป็นช่องทางที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ขโมยผลงาน หรือถูกแอบอ้างได้ง่าย
  2. หากผู้ใช้หมกหมุ่นกับการเข้าร่วมเครือข่ายสังคมออนไลน์มากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ
  3. เป็นช่องทางที่สามารถวิพากษ์วิจารณ์กระแสสังคมในเรื่องเชิงลบ และอาจทำให้เกิดกรณีพิพาทบานปลาย
  4. ภัยคุกคามจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ เช่น การเผยแพร่ภาพและข้อความอันมีลักษณะดูหมิ่นและไม่เหมาะสมต่อสถาบันพระมหากษัตริย์



คำถามท้ายบทที่ 5
1. จงอธิบายความหมายของเครือข่ายสังคทออนไลน์ตามความเข้าใจของนักศึกษา
ตอบ  
เครือข่ายสังคมออนไลน์ หมายถึง สังคมออนไลน์ที่มีการเชื่อมโยงกันเพื่อสร้างเครือข่ายในการตอบสนองความต้องการทางสังคมที่มุ่งเน้นในการสร้างและสะท้อนให้เห็นถึงเครือข่าย หรือความสัมพันธ์ทางสังคม ในกลุ่มคนที่มีความสนใจหรือมีกิจกรรมร่วมกัน บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จะให้บริการผ่านหน้าเว็บ และให้มีการตอบโต้กันระหว่างผู้ใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต

2. จงบอกประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์มีกี่ประเภท  อะไรบ้าง
ตอบ เครือข่ายสังคมออนไลน์มี 5 ประเภท  ได้แก่
       1. สร้างและประกาศตัวตน (Identity Network)     
       2. สร้างและประกาศผลงาน (Creative Network)
      
       3. ความชอบในสิ่งเดียวกัน (Passion Network)
     
      4. เวทีทำงานร่วมกัน (Collaboration Network)
     
      5. เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันระหว่างผู้ใช้ (Peer to Peer : P2P)

3. นักศึกษาต้องการสร้างและประกาศตัวตนควรเลือกใช้ผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ใดบ้าง
ตอบ 
เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทนี้ใช้สำหรับให้ผู้เข้าใช้งานได้มีพื้นที่ในการสร้างตัวตนขึ้นมาบนเว็บไซต์ และสามารถที่จะเผยแพร่เรื่องราวของตนผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทนี้ ได้แก่ Facebook, Google+, Friendster, MySpace และ Hi5 เป็นต้น

4. นักศึกษาประยุกต์ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง
ตอบ  
1. ด้านการสื่อสาร (Communication) เครือข่ายสังคมออนไลน์ถูกนำมาใช้เป็นช่องทางในการนำเสนอข่าวสารผ่านเว็บไซต์ของสำนักข่าว เช่น ไทยรัฐ ผู้จัดการออนไลน์ หรือที่อยู่ในรูปแบบของเว็บบล็อก 

           2. ด้านการศึกษา (Education) เครือข่ายสังคมออนไลน์ถูกนำมาใช้ในการสืบค้น ความรู้ ข้อเท็จจริง ทั้งด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ ที่เรียกว่า สารานุกรมออนไลน์ ซึ่งสามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ อย่าง วิกิพีเดีย เป็นต้น มีการนำเครือข่ายสังคมออนไลน์มาประยุกต์ใช้สำหรับจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่าง ๆ

           3. ด้านการตลาด (Marketing) การนำเครือข่ายสังคมออนไลน์มาใช้ประโยชน์ในการสร้างแบรนด์ได้อย่างชัดเจน เพราะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการสื่อสารเพื่อสร้างการเข้าถึง สร้างความสัมพันธ์ การมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคได้ดีและวัดผลได้ทันที

           4. ด้านบันเทิง (Entertainment) การนำเครือข่ายสังคมออนไลน์มาใช้ในงานโฆษณา ผลิตรายการ เป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างบริษัท และศิลปิน จะเห็นได้จากบริษัทผู้ผลิตผลงานทางด้านบันเทิงมีความนิยมใช้ประโยชน์จากเครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่านยูทูบ เช่น การให้ดาวน์โหลดเพลง มิวสิควิดีโอ การแชร์ไฟล์วิดีโอ ไฟล์เพลง การสร้างแฟนเพจของศิลปินดารา นักร้องผ่านเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์

           5. ด้านสื่อสารการเมือง (Communication Political) การนำเครือข่ายสังคมเป็นเครื่องมือในการพูดคุยสื่อสาร ติดต่อกันระหว่างกลุ่มคน หรือบุคคลที่ต้องการแลกเปลี่ยนความคิดทางการเมือง กลุ่มนี้จัดเป็นกลุ่มที่สร้างกระแสนิยมให้กับเครือข่ายสังคมออนไลน์ระดับโลก