วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สรุปเนื้อหาบทที่ 1 (คำถามท้ายบทที่ 1)

สรุปเนื้อหาบทที่ 1
หลักการและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
       ปัจจุบันความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว มีการเปลี่ยนแปลงในทุกระดับตามยุคสมัย เพื่อให้มีการจัดทำสารสนเทศไว้ใช้งานมีการประยุกต์เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ได้แก่ คอมพิวเตอร์อุปกรณ์ โทรคมนาคม เครื่องประมวลผลคำนวณ และเครื่องมือที่ประมวลผลได้โดยอัตโนมัติอื่นๆ เพื่อรวบรวมจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลการผลิตสื่อสารบันทึกเรียบเรียงใหม่ และแสวงหาประโยชน์จากสารสนเทศ เพื่อใหผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศ และใช้งานร่วมกันได้อย่างสะดวก พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนามายาวนานกว่าจะเป็นเทคโนโลยรคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กราคาถูก และประสิทธิภาพสูงที่ใช้ในปัจจุบัน ส่วนเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคมก็พัฒนาจนเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายก่อเกิดเว็บ 2.0 ที่ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วมในการนำเสนอเนื้อหาผ่านบล็อกจนกลายเป็นเว็บ 3.0 ในปัจจุบันที่มีลักษณะเป็นปัญญาประดิษฐ์ 
        เทคโนโลยีมีประโยชน์มากมายไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ อำนวยความสะดวกในการเข้าถึง และลดปัญหาด้านเวลาและภูมิศาสตร์ รวมถึงนำมาประยุกต์ใช้งานในสาขาอาชีพต่างๆ เช่น การศึกษา ธุรกิจธนาคาร ด้านตำรวจและความมั่นคงของประเทศ ด้านการแพทย์ การบันเทิง และการจัดการสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการให้บริการในรูปแบบต่างๆ ที่อำนวยควาใสะดวกและการเข้าถึงผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ ดังนั้น ผู้เกี่ยวข้องในการใช้และพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศจึงต้องพิจารณาการใช้ การให้บริการอย่างเหมาะสม เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศมีทั้งผลกระทบในทางบวกและในทางลบด้วบเช่นกัน
วันศุกร์ ที่ 3 มิถุนายน 2559  เวลา 9.00-11.30 น



คำถามท้ายบทที่ 1
1. ในชีวิตประจำวันของนักศึกษามีการใช้ฮาร์ดแวร์อะไรบ้างและอุปกร์ดังกล่าวอยู่ในหน่วยใด
ตอบ   -ใช้คีบอร์ด และเมาส์ ในการทำงาน ซึ่งจัดอยู่ในหน่วยรับข้อมูล(Input Unit)  จะทำหน้าที่รับข้อมูลจากภายนอกคอมพิวเตอร์เข้าสู่หน่วยความจำแล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณในรูปแบที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้
           -ใช้จอภาพ จากเล่นเกมส์บนมือถือ และใช้เครื่องพิมพ์ ในการปริ้นงาน ซึ่งจัดอยู่ในหน่วยแสดงผล จะทำหน้าที่ส่งออกที่ได้จากการประมวลผลแล้ว

2. นักศึกษามีการใช้ซอฟต์แวร์เพื่อจัดการเรียนการสอนอะไรบ้าง
ตอบ    -ซอฟต์แวร์ระบบและซอฟต์แวร์ประยุกต์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างบทเรียน การนำเสนองาน การจัดเก็บข้อมูล และการพิมพ์เอกสารและงานต่างๆ

3. อธิบายผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในเชิงบวกและเชิงลบจากการใช้งานในชีวิตประจำวัน
ตอบ   ผลกระทบในเชิงบวก
          1. การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควมคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นต้น
          2. เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส   เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการกระจายไปทั่วทุกหนแห่ง แม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ทำให้มีการกระจายโอกาสการเรียนรู้ มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล นอกจากนี้ในปัจจุบันมีความพยายามที่จะใช้ระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสาร 
          3. สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน   การเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศใน โรงเรียนมากขึ้น
          4. เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม   การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวมรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่าง ๆ การตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วย ที่เรียกว่า โทรมาตร เป็นต้น
          5. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ   กิจการทางด้านการทหารมีการใช้เทคโนโลยี อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบควบคุม มีการใช้ระบบป้องกันภัย ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ ควบคุมการทำงาน
         ผลกระทบในเชิงลบ
          1. ก่อให้เกิดความเครียดในสังคมมากขึ้น  เนื่องจากมนุษย์ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เคยทำอะไรแบบใด มักจะชอบทำแบบนั้น ไม่ชอบการ เปลี่ยนแปลง แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปเปลี่ยนแปลง บุคคลที่รับการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ จึงเกิดความวิตกกังวล จนกลาย เป็นความเครียด กลัวว่าคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศจะทำให้คนตกงาน เพราะสิ่งเหล่านี้จะเข้ามาทดแทนมนุษย์
          2. ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรม  หรือการแลกเปลี่ยนวัฒนรรมของคนในสังคมโลก ทำให้พฤติกรรมที่แสดงออกด้านการแต่งกาย และการบริโภคเปลี่ยนแปลงไป การมอมเมาเยาวชนในรูปของเกมส์อิเล็คทรอนิคส์ ส่งผลกระทบ ต่อการพัฒนาอารมณ์และจิตใจของเยาวชน เกิดการกลืนวัฒนธรรมดั้งเดิมซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์ของสังคมนั้น 
          3. ก่อให้เกิดผลด้านศีลธรรม   บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้า และเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป
          4. การมีส่วนร่วมของคนในสังคมลดน้อยลง   การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ในการสื่อสารและการทำงาน แต่ในอีกด้านหนึ่งการมีส่วนร่วมของกิจกรรมทางสังคมที่มีการพบปะสังสรรค์กันจะน้อยลง ผู้คนมักอยู่แต่ที่บ้านหรือที่ทำงานของตนเองมากขึ้น
          5. การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลโดยการเผยแพร่ข้อมูลหรือรูปภาพต่อสาธารณชน
ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจไม่เป็นความจริงหรือยังไม่ได้พิสูจน์ความถูกต้องออกสู่สาธารณะชน ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคลโดยไม่สามารถป้องกันตนเองได้ การละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเช่นนี้ ต้องมีกฎหมายออกมาคุ้มครองเพื่อให้นำข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ในทางที่ถูกต้อง

4. อธิบายความสัมพันธ์ระบบสารสนเทศในหน่วยงาน พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ   1.ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems - TPS)  เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานประจำ ทำการบันทึกจัดเก็บ  ประมวลผลรายการที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน  โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานแทนการทำงานด้วยมือ  ทั้งนี้เพื่อที่จะทำการสรุปข้อมูลเพื่อสร้างเป็นสารสนเทศ  ระบบประมวลผลรายการนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นระบบที่เชื่อมโยงกิจการกับลูกค้า ตัวอย่าง เช่น ระบบการจองบัตรโดยสารเครื่องบิน  ระบบการฝากถอนเงินอัตโนมัติ เป็นต้น
       2.ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems- OAS)  เป็นระบบที่สนับสนุนงานในสำนักงาน หรืองานธุรการของหน่วยงาน ระบบจะประสานการทำงานของบุคลากรรวมทั้งกับบุคคลภายนอก หรือหน่วยงานอื่น ระบบนี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการเอกสาร โดยการใช้ซอฟท์แวร์ด้านการพิมพ์  การติดต่อผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  เป็นต้นผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของเอกสาร  กำหนดการ  สิ่งพิมพ์ 
       3.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  (Management Information Systems- MIS)  เป็นระบบสารสนเทศสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับกลาง  ใช้ในการวางแผน  การบริหารจัดการ และการควบคุม  ระบบจะเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่ในระบบประมวลผลรายการเข้าด้วยกัน  เพื่อประมวลและสร้างสารสนเทศที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการบริหารงาน  ตัวอย่าง เช่น ระบบบริหารงานบุคลากร  ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของรายงานสรุป  รายงานของสิ่งผิดปกติ
      4.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ  (Decision Support Systems – DSS)  เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจสำหรับปัญหาสร้างขึ้นจากแนวคิดของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการตัดสินใจ โดยให้ผู้ใช้โต้ตอบโดยตรงกับระบบ ทำให้สามารถวิเคราะห์ ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและกระบวนการพิจารณาได้ เช่น รายงานเฉพาะกิจ  รายงานการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจ  การทำนาย หรือ พยากรณ์เหตุการณ์ 
      5.ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร  (Executive Information System - EIS)  เป็นระบบที่สร้างสารสนเทศเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารระดับสูง ซึ่งทำหน้าที่กำหนดแผนระยะยาวและเป้าหมายของกิจการ สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงนี้จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลภายนอกกิจกรรมเป็นอย่างมาก   ยิ่งในยุคปัจจุบันที่เป็นยุค Globalization  ข้อมูลระดับโลก แนวโน้มระดับสากลเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการแข่งขันของธุรกิจ เช่น การพยากรณ์/การคาดการณ์ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น