วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สรุปข่าว IT ข่าวที่ 2

ข่าวที่ 2

เรื่องง่ายๆ ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ กับ 3 เคล็ดลับธุรกิจจาก “ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว”


           ธนาคารธนชาต ลุยสนาม SMEs จัดงานสัมมนาเพื่อปลุกพลังของเหล่า SME  ในประเทศไทยภายใต้หัวข้อเรื่อง “ธนชาต SME NEXT ต่อยอดธุรกิจ คิดต่าง” โดยได้รับเกียรติจาก พันธ์รบ กำลา ประธานกรรมการ บริษัท ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว จำกัด ร่วมแบ่งปันประสบการณ์การทำธุรกิจตามสไตล์ของเขา โดยได้ หนุ่มเมืองจันท์-สรกล อดุลยานนท์ เป็นผู้ดำเนินการสัมนา จนทำให้ภายในงานมีเรื่องราวที่น่าสนใจมากมาย โดยมีประเด็นที่ง่าย เบสิคสุดๆ แต่สำคัญของแนวคิดการทำธุรกิจ 3 เรื่อง ดังนี้
1. ตั้งชื่อแบรนด์ง่ายๆ ใช้สีชัดๆ เป็นเรื่องเล่าที่เจ้าของชายสี่ฯ อธิบายบ่อยครั้ง แต่ฟังทีไรก็เก็ทไอเดียทันที เมื่อตอนตั้งชื่ออันเป็นเอกลักษณ์ เขาเลือกจาก 2-3  ชื่อ ดังนี้ 1.ราชินีบะหมี่เกี๊ยว 2. ป๊ะป๋าบะหมี่เกี๊ยว และ “ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว” วิธีคิดของเขาก็คือ เลือกชื่อที่สะกดด้วยตัวอักษรน้อยๆ และออกเสียงไม่เกิน 2-3 พยางค์ มีเสียงสัมผัส เพราะคนจะได้จำง่ายๆ และเมื่อเขียนป้ายก็ได้ป้ายที่ตัวหนังสือใหญ่พอ ใช้ป้ายสีเหลือง-แดงสะท้อนแสงเพื่อให้เด่นชัด จนได้ชื่อ ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยวที่รู้จักกันดีเพราะสะท้อนความเป็นจีน แล้วตอนนั้นหนังจีนที่มีองค์ชายสี่เป็นตัวละครนำกำลังดัง จึงเป็นที่มาของชื่อนี้
2. ถ้าไม่มีทุนเริ่มต้นธุรกิจ ทำอย่างไร นอกจากคำตอบว่าให้กู้จากธนชาตแล้ว อีกคำตอบที่  พันธ์รบ บอกเคล็ดลับก็คือ ให้คิดเหมือนจีบผู้หญิงคนหนึ่ง นั่นคือ ให้คิดถึงสิ่งที่อยากจะทำทุกวันแล้วหมั่นเพียรไปจีบไปดูอยู่เรื่อยๆ ในความเป็นจริงแล้ว เขากำลังหมายถึงถ้าอยากทำธุรกิจอะไรให้มี Passion แล้วลงมือศึกษาอย่างท่องแท้ เขาเองก็อ่านหนังสือลงทุนเรื่องอสังหาริมทรัพย์ของคุณพิชัย จาวลา แล้วทริคหนึ่งก็บอกวเอาไว้้ว่าถ้าอยากได้ที่ดินหรืออสังหาฯ บริเวณนั้นทุกวัน แล้วจะเกิดความรู้ ได้เปรียบเทียบที่ดินบริเวณใกล้เคียง แล้วจะรู้ว่าควรลงทุนในที่ดินตรงนั้นหรือไม่ ที่ใกล้เคียงกันมีความน่าสนใจหรือไม่
3. สร้างเครดิตให้ตัวเอง อย่างไร พันธ์รบ กล่าวว่า “การทำให้คนอื่นรัก คือ การทำให้ตัวเองรวย” ดังนั้น เขาไม่เคยจ่ายเงินซัพพลายเออร์หรือแม้แต่จ่ายธนคารช้า นี่เป็นการสร้างเครดิตด้วยความตั้งใจที่จะรักษาชื่อเสียงของตัวเองเอาไว้
           นอกจากนี้ยังมีการสร้างเครดิตที่เกิดจากความไม่ตั้งใจ เมื่อเขาเปิดธุรกิจที่เวียงจันทน์ เป็นครั้งแรก แล้วคิดว่าจะเปิดธุรกิจได้ง่าย ก็ไปตั้งร้านแบบไทย แต่ปรากฏว่าถูกจับติดคุกขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ทันที เพราะความไม่รู้ว่าต้องมีการขออนุญาติก่อน แต่นั้นก็ทำให้ “ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว” เป็นที่รู้จักในเวลาอันรวดเร็ว และทำยอดขายได้ดีมาก ทั้งๆ ที่ราคาขายเริ่มต้นที่ 70-100 บาท/ ชาม
           เรื่องที่เล่ามาอาจฟังดูเป็นเรื่องตลก แต่ประเด็นที่น่าคิดก็คือ การบุกตลาด AEC ของเขาดูจะเป็นเรื่องใกล้ตัว เพราะเขาอยู่ในธุรกิจอาหารมานาน แรงงานจากต่างประเทศเคยทดลองชิมสินค้าของเขามาแล้ว ดังนั้นนี่คือการสร้างเครดิตผ่านสินค้า ที่เชื่อถือได้ และนำไปสู่การต่อยอดขยายตลาดในตอนนี้

สรุปเนื้อหาบทที่ 3 (คำถามท้ายบทที่ 3)

สรุปเนื้อหาบทที่ 3
เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล
     ปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารได้มีการพัฒนาอน่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่สูงกว่าเดิม ถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันจนกลายเป็นสิ่งจำเป็นมากขึ้น เช่น การเก็บข้อมูล การติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าหาข้อมูล การซื้อขายสินค้า รวมไปถึงความบันเทิง เป็นต้น
        ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การติดต่อสื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่อง ขึ้นไป ผ่านสื่อในการติดต่อสื่อสารได้ทั้งสื่อกลางแบบมรสายหรือสื่อกลางแบบไม่มีสายก็ได้ เช่น สายเคเบิลหรือผ่านคลื่นวิทยุ
องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล
1.ข้อมูล คือสิ่งที่ต้องการส่งไปยังปลายทาง อจาเป็นภาพ ข้อความ หรือสื่อประสม เมื่อไปถึงปลายทางผู้รับจะต้องสามารถเข้าใจข่าวสารนั้นได้
2.ฝ่ายส่งข้อมูล คือแหล่งกำเนิดข่าวสาร ที่นำมาใช้รับส่งข่าวสาร เช่นคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์
3.ฝ่ายรับข้อมูล คือจุดหมายปลายทางของข่าวสารที่นำมาใช้สำหรับข่าวสารที่ส่งมาจากฝ่ายส่งข้อมูล
4.สื่อกลางส่งข้อมูล คือช่องทางการติดต่อสื่อสารที่จะนำเอาข้อมูลข่าวสารจากฝ่ายส่งข้อมูลไปยังฝ่ายรับข้อมูล
5.โพรโตคอล คือมาตรฐานหรือข้อตกลงที่จะใช้ในการติดต่ออสื่อสารร่วมกันระหว่างฝ่ายผู้ส่งกับฝ่ายผู้รับ
องค์ประกอบของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1.คอมพิวเตอร์ คือระบบเครือข่ายจะต้องมีคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่อง ขึ้นไป จะเป็นรุ่นหรือยี่ห้อไหนก็ได้
2.การ์ดเชื่อมเครือข่าย คือเป็นการ์ดที่เสียบเข้ากับช่องเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์
3.สื่อกลางและอุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล คือช่องทางในการสื่อสารข้อมูลเป็นได้ทั้งแบบสายและแบบไม่มีสาย
4.โพรโตคอล คือมาตรฐานที่ตั้งขึ้นเพื่อทำให้ผู้ที่จะสื่อสารกันเข้าใจกัน
ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
5.ระบบปฏิบัติเครือข่าย คือชุดโปรแกรมที่เป็นตัวช่วยจัดการเกี่ยวกับการใช้งานเครือข่ายของผู้ใช้แต่ละคน

ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1.เครือข่ายท้องถิ่น เป็นเครือข่ายที่ติดตั้งและใช้งานมีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมระยะใกล้ มักใช้ในห้องสำนักงาน ตัวอาคารหรืระหว่างอาคารที่อยู่ใกล้เคียง
2.เครืข่ายระดับเมือง เป็นเครือข่ายที่ครอลคลุมอาณาบริเวณกว้างกว่าเครืข่ายท้องถิ่น เช่น โครงข่ายขององค์การโทรศัพท์
3.เครือข่ายระดับประเทศ เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมอาณาบริเวณที่ห่าไกลกันมากกว้างกว่าเครือข่ายระดับเมือง
4.เครือข่ายแบบรวมศูนย์ เป็นเครือข่ายที่มีโครงสร้างง่ายสุด มีการติดตั้งข้อมูลหลักที่สาขาใหญ่ เช่น ระบบ ATM ของธนาคาร
5.เครือข่ายแบบกระจาย เป็นเครือข่ายที่สามารถส่งข้อมูลไปยังกระจายไปยังคอมพิวเตอร์ใดๆก็ได้ในเครือข่าย

การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1.ด้านการติดต่อสื่อสาร เช่น บริการกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายทางอิเล็กทรอนิกส์ การประชุมระยะไกลทางอิเล็กทรอนิกส์ และการสนทนาแบบออนไลน์
2.ด้านการค้นหาข้อมูล เช่น การใช้เว็บบราวเซอร์สืบค้นหาข้อมูล
3.ด้านธุรกิจและการเงิน เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ การสั่งซื้อสินค้า
4.ด้านการศึกษา เช่น การเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ต และการค้นหาความรู้ต่างๆ บนอินเตอร์เน็ต
5.ด้านการแพทย์ เช่น การจัดเก็บข้อมูลคนไข้ ทำให้ลดระยะเวลาของหมอและยังช่วยให้การวินิจฉัยได้ถูกต้องครบถ้วน


คำถามท้ายบทที่ 3
1.องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูลแต่ละชนิดทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ    1.ข้อมูล คือสิ่งที่ต้องการส่งไปยังปลายทาง อจาเป็นภาพ ข้อความ หรือสื่อประสม เมื่อไปถึงปลายทางผู้รับจะต้องสามารถเข้าใจข่าวสารนั้นได้
            2.ฝ่ายส่งข้อมูล คือแหล่งกำเนิดข่าวสาร ที่นำมาใช้รับส่งข่าวสาร เช่นคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์
            3.ฝ่ายรับข้อมูล คือจุดหมายปลายทางของข่าวสารที่นำมาใช้สำหรับข่าวสารที่ส่งมาจากฝ่ายส่งข้อมูล
            4.สื่อกลางส่งข้อมูล คือช่องทางการติดต่อสื่อสารที่จะนำเอาข้อมูลข่าวสารจากฝ่ายส่งข้อมูลไปยังฝ่ายรับข้อมูล
            5.โพรโตคอล คือมาตรฐานหรือข้อตกลงที่จะใช้ในการติดต่ออสื่อสารร่วมกันระหว่างฝ่ายผู้ส่งกับฝ่ายผู้รับ 

2.การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง  พร้อมอธิบาย
ตอบ   1.การสื่อสารแบบ Unicast เป็นการรับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง ในระบบเครือข่ายในลักษณะ 1 ต่อ 1
          2.การสื่อสารแบบ Broadcast เป็นการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ต้นทางหนึ่งเครื่องไปยังเครื่องปลายทางทุกเครื่องที่ติดต่ออยู่ในลักษณะของการแพร่กระจายข้อมูล แบบ 1 ต่อ ทั้งหมด
          3.การสื่อสารแบบ Multicast เป็นการส่งข้อมูลจากเครื่องต้นทางหนึ่งไปยังกลุ่มของเครื่องปลายทางเฉพาะกลุ่มที่มีการกำหนดแบบ 1 ต่อ กลุ่มเฉพาะ

3.นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้งานระบบเครือข่ายกับการเรียนได้อย่างไร
ตอบ  สามารถประยุกต์ใช้ได้การเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ต และการค้นหาความรู้ต่างๆ บนอินเตอร์เน็ต การส่งงานให้กับอาจารย์ผ่านอีเมลล์ การทำรายงานและการนำเสนอผลงาน

4.รูปแแบการสื่อสารข้อมูลชนิดใดที่นิยมในเครือข่ายท้องถิ่นในปัจจุบัน เพราะอะไร อธิบาย
ตอบ  เครือข่ายท้องถิ่น เป็นเครือข่ายที่ติดตั้งและใช้งานมีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมระยะใกล้ มักใช้ในห้องสำนักงาน ตัวอาคารหรืระหว่างอาคารที่อยู่ใกล้เคียงกัน เพราะเป็นเครือข่ายที่เป็นพื้นฐานสำหรับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วไป เช่น เทคโนโลยีที่ใช้สำหรับเครือข่ายเฉพาะที่ ได้แก่ อีเธอร์เน็ต โทเคนริง Wi-Fi

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สรุปเนื้อหาบทที่ 2 (คำถามท้ายบทที่2)

สรุปเนื้อหาบทที่ 2
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
        คอมพิวเตอร์ เป็นองค์ปรกอบสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศแลการสื่อสาร ทั้งนี้เพราะคมพิวเตอรืเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการจัดการข้อมูลสารสนเทศและการจัดกความรู้ในหน่วย รวมถึงการประยุกตืใช้คอมพิวเตอร์ยังป็นพื้นฐานที่ก่อให้เกิดการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อเพื่อให้หน่วยงาน มีศักาพในการแข่งขันกับคู่แข่งายนอกได้
ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์
1.การปฏิบัติงานอัตโนมัติ เปนการประมวลผลข้อมูลตามลำดับคำสั่งได้ถูกต้องต่อเนื่องโดยอัตโนมัติตามคำสั่งและผู้ใช้งานกำหนดไว้
2.ความเร็ว  เป็นการประมวลข้อมูลายในเวลาที่สั้นที่สุด ความเร็วในการประมวลผลจะเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ จะพิจารณาซ้ำๆในช่วงเวลาหนึ่งๆ ที่เรียกว่า ความถี่
3.การจัดเก็บข้อมูล เป็นกเก็บข้มูลในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จดเก้บได้เป็นจำนวนมากและเป็นเวลานาน
4.ความน่าเชื่อถือ เป็นโปแกรมคำสั่งและข้อมูลที่กำหนดให้กับคอมพิวเตอร์เพื่อกำหนดความน่าเชื่อถือของคมพิวเตอร์ คือ GIGO
5.ความถูกต้องเม่นยำ เป็นการคำนวณของเครื่องอมพิวเตอร์ มักใช้กับกรคำนวณตัวเลขจำนวนมากหรือคำนวณสูตรที่ซับซ้อน
หลักการทำงานของคมพิวเตอร์
        เพื่อให้เกิดการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานอย่างมีปสิทธิภาพผู้ใช้คอมพิวเตอร์ตงเข้าใจหลักการทำงานของคอมพวเตอร์ วมถึงต้งู้จักส่วนปะกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานตามชุดคำสั่งหือโปแกรมตามที่มนุษย์กำหนดเข้าไในหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ หน่วยรับข้อมูลเข้า หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ หน่วยแสดงผล และหน่วยติดต่อสื่อสาร
ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
       ซอฟต์แวร์ หมายถึง โปรแกรมต่างๆที่สามารถนำเข้ามาใช้เพื่อปฏิบัติงานและจัดการกับคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบขางให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีปะสิทธิภาพ สามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้
     1. ซอฟต์แวร์ระบบ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่พ่วงต่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจัดระบบการเก็บขอมูล และการรับส่งข้อมูล
     2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือซอฟต์แวร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อประยุกต์กับงานที่ผู้ใชต้องการ
ประเภทของคอมพิวเตอร์
  1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะในการทำงานสูง สามารถคำนวณตัวเลขที่มีจุดทศนิยมด้วยความเร็วสูง เหมาะกับงานที่มีการคำนวณมากๆ เช่น งานวิเคราะห์ภาพถ่ายจากดาวเทียม
     2.เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เป็นคอมที่มีสมรรถนะสูงมาก สามารถประมวลข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เหมาะกับงานด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และธุรกิจ เช่นงานธนาคารซึ่งต้องตวจสอบบัญชีลูกค้า
   3.มินิคอมพิวเตอร์ มีสมรรถนะต่ำกว่าเครื่องเมนเฟรม ทำงานได้ช้า ควบคุมอุปกรณ์รอบข้างได้น้อย ราคาถูก เมาะกับงานหลายประเภท เช่น งานวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม และงานราชการระดับกรม
 4.ไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก นิยมใชกันอย่างพร่หลาย ราคาไม่แพง ประสิทธิภาพในการทำงานสูง ได้แก่ คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ โน๊ตบุ๊ก และแท็บเล็ต
        คอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องมีไว้เพื่อปรกอบการเรียน หรือการทำงาน ราคาของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจบันไม่แพงมากนัก ปะสิทธิภาพกรทำงาสูงขึนมาก จึงต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการใช้งาน มีหลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์เพื่อนำมาใช้งาน และต้องหมั่นดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ


คำถามท้ายบทที่ 2
1.จงบอกหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
ตอบ   1. มีการรับข้อมูลคำสั่งเข้ามายังเครื่องคมพิวเตอร์ผ่านหน่วยรับข้อมูล/คำสั่ง
           2. ข้อมูลจะถูกส่งต่อไปยังหน่วยประมวลกลางเพื่อทำการประมวลผลตามคำสั่งที่ตั้งไว้
           3. ในขณะที่ทำการประมวลผล หน่วยความจำหลักจะทำหน้าที่เก็บคำสั่งต่างๆ ในการประมวลผล
           4. เมื่อประมวลผลเสร็จแล้ว ผลลัพธ์จะถูกเก็บที่หน่วยความจำสำรอง
           5. หน่วยแสดงผลทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผล

2.ส่วนประกอบหลักของฮาร์แวร์คอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง
ตอบ     1.หน่วยรับข้อมูลเข้า ทำหน้าที่รับข้อมูล/คำสั่ง เข้าไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่นำเข้าคอมพิวเตอร์เป็นได้ทั้งตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ เสียง ภาพ รวมไปถึงมัลติมีเดีย
            2.หน่วยประมวลผลกลาง ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางประมวลผลและควบคุมระบบการทำงานต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้อุปกร์ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ทุกอย่างทำงานสอดคล้องสัมพันธ์กัน
            3.หน่วยความจำ คือส่วนที่ใช้เก็บข้อมูล/คำสั่ง ไดแก่ หน่วยความจำหลัก และหน่วยความจำรอง
      4.หน่วยแสดงผล ทำหน้าที่รับข้อมูลจากหน่วยความจำ ซึ่งผ่านการประมวลผลแล้วมาแสดงในรูปแบบต่างๆ โดยอาศัยอุปกณ์แสดงผล ได้แก่ จอภาพ ลำโพง เครื่องพิมพ์
            5.หน่วยติดต่อสื่อสาร  มีความสำคัญอย่างมากกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ เนื่องจากจะทำให้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ รวมถึงการเชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต

3.คอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท จงอธิบาย
ตอบ    1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะในการทำงานสูง สามารถคำนวณตัวเลขที่มีจุดทศนิยมด้วยความเร็วสูง เหมาะกับงานที่มีการคำนวณมากๆ เช่น งานวิเคราะห์ภาพถ่ายจากดาวเทียม
           2.เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เป็นคอมที่มีสมรรถนะสูงมาก สามารถประมวลข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เหมาะกับงานด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และธุรกิจ เช่นงานธนาคารซึ่งต้องตวจสอบบัญชีลูกค้า
           3.มินิคอมพิวเตอร์ มีสมรรถนะต่ำกว่าเครื่องเมนเฟรม ทำงานได้ช้า ควบคุมอุปกรณ์รอบข้างได้น้อย ราคาถูก เมาะกับงานหลายประเภท เช่น งานวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม และงานราชการระดับกรม
           4.ไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก นิยมใชกันอย่างพร่หลาย ราคาไม่แพง ประสิทธิภาพในการทำงานสูง ได้แก่ คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ โน๊ตบุ๊ก และแท็บเล็ต

4.จงบอกวิธีการดูแลรักษาไฟล์ข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์มา 5 ข้อ พร้อมอธิบาย
ตอบ   1.ติดตั้งโปรแกรมสแกนและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ และต้องทำการอัพเดตโปรแกรมสม่ำเสมอ
          2.สร้างโฟล์เดอร์เพื่อเก็บข้อมูลในไดร์ฟที่ไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมระบบ เพื่อป้องกันการสูนหายของข้อมูลเมื่อโปรแกรมระบบรวมถึงระบบปฏิบัติการเกิดปัญหาในการใช้งาน
         3.หมั่นใช้โปรแกรมอรรถประโยชน์ เช่น disk cleanup เพื่อกำจัดไฟล์ที่ไม่จำเป็นในฮาร์ดดิส เช่น ไฟล์ขยะใน Internet temporary file
         4.ติดตั้งไฟร์วอลล์ เพื่อป้องกันไวรัสหรือการบุกรุกรูปแบบต่างๆ จากการใช้งานอินเทอร์เน็ต


วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สรุปข่าว IT ข่าวที่ 1

ข่าวที่ 1

ซึ้งเลย! ทหารใหม่ถูกแกล้งลงโทษ ก่อนเจอแฟนสาวเซอร์ไพรส์วันเกิด

        เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2559 เป็นวันที่ กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 5 เปิดให้ญาติเข้าเยี่ยมทหารใหม่ เฟซบุ๊ก กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 5 ก็ได้มีการเผยคลิปการฝึกของทหารในหน่วย ซึ่งระหว่างฝึกนั้นครูฝึกได้เรียกทหารนายหนึ่งออกมาลงโทษเดี่ยว ระบุว่าไม่ตั้งใจฝึก โดยทหารนายนั้นถูกลงโทษด้วยการให้ตีลังกาม้วนหน้าไปรอบๆ
        ต่อมา ในคลิปจะเห็นว่าครูฝึกพาผู้หญิงคนหนึ่งเดินฝ่ามาจากหลังแถว จังหวะนั้นนายทหารที่ถูกลงโทษหันหลังอยู่ ทางผู้บังคับบัญชาจึงได้สั่งให้กลับหลังหัน ทหารคนดังกล่าวจึงได้พบว่าแฟนสาวถือเค้กมายืนตรงหน้า  หลังจากนั้นเพื่อนทหารทั้งหมดก็ร้องเพลงสุขสันต์วันเกิดให้ เนื่องจากมีวันคล้ายวันเกิดตรงกับวันเยี่ยมญาติพอดี ทำเอาทหารใหม่ถึงกับน้ำตาซึมด้วยความดีใจและซาบซึ้ง
         อย่างไรก็ตาม คลิปดังกล่าวถูกแชร์ออกไปอย่างกว้างขวางในโลกออนไลน์ สร้างความประทับใจให้กับผู้ชมเป็นอย่างมาก โดยชาวเน็ตต่างชื่นชมในความเอาใจใส่ของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อทหารใหม่ แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม

สรุปเนื้อหาบทที่ 1 (คำถามท้ายบทที่ 1)

สรุปเนื้อหาบทที่ 1
หลักการและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
       ปัจจุบันความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว มีการเปลี่ยนแปลงในทุกระดับตามยุคสมัย เพื่อให้มีการจัดทำสารสนเทศไว้ใช้งานมีการประยุกต์เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ได้แก่ คอมพิวเตอร์อุปกรณ์ โทรคมนาคม เครื่องประมวลผลคำนวณ และเครื่องมือที่ประมวลผลได้โดยอัตโนมัติอื่นๆ เพื่อรวบรวมจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลการผลิตสื่อสารบันทึกเรียบเรียงใหม่ และแสวงหาประโยชน์จากสารสนเทศ เพื่อใหผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศ และใช้งานร่วมกันได้อย่างสะดวก พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนามายาวนานกว่าจะเป็นเทคโนโลยรคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กราคาถูก และประสิทธิภาพสูงที่ใช้ในปัจจุบัน ส่วนเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคมก็พัฒนาจนเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายก่อเกิดเว็บ 2.0 ที่ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วมในการนำเสนอเนื้อหาผ่านบล็อกจนกลายเป็นเว็บ 3.0 ในปัจจุบันที่มีลักษณะเป็นปัญญาประดิษฐ์ 
        เทคโนโลยีมีประโยชน์มากมายไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ อำนวยความสะดวกในการเข้าถึง และลดปัญหาด้านเวลาและภูมิศาสตร์ รวมถึงนำมาประยุกต์ใช้งานในสาขาอาชีพต่างๆ เช่น การศึกษา ธุรกิจธนาคาร ด้านตำรวจและความมั่นคงของประเทศ ด้านการแพทย์ การบันเทิง และการจัดการสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการให้บริการในรูปแบบต่างๆ ที่อำนวยควาใสะดวกและการเข้าถึงผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ ดังนั้น ผู้เกี่ยวข้องในการใช้และพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศจึงต้องพิจารณาการใช้ การให้บริการอย่างเหมาะสม เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศมีทั้งผลกระทบในทางบวกและในทางลบด้วบเช่นกัน
วันศุกร์ ที่ 3 มิถุนายน 2559  เวลา 9.00-11.30 น



คำถามท้ายบทที่ 1
1. ในชีวิตประจำวันของนักศึกษามีการใช้ฮาร์ดแวร์อะไรบ้างและอุปกร์ดังกล่าวอยู่ในหน่วยใด
ตอบ   -ใช้คีบอร์ด และเมาส์ ในการทำงาน ซึ่งจัดอยู่ในหน่วยรับข้อมูล(Input Unit)  จะทำหน้าที่รับข้อมูลจากภายนอกคอมพิวเตอร์เข้าสู่หน่วยความจำแล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณในรูปแบที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้
           -ใช้จอภาพ จากเล่นเกมส์บนมือถือ และใช้เครื่องพิมพ์ ในการปริ้นงาน ซึ่งจัดอยู่ในหน่วยแสดงผล จะทำหน้าที่ส่งออกที่ได้จากการประมวลผลแล้ว

2. นักศึกษามีการใช้ซอฟต์แวร์เพื่อจัดการเรียนการสอนอะไรบ้าง
ตอบ    -ซอฟต์แวร์ระบบและซอฟต์แวร์ประยุกต์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างบทเรียน การนำเสนองาน การจัดเก็บข้อมูล และการพิมพ์เอกสารและงานต่างๆ

3. อธิบายผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในเชิงบวกและเชิงลบจากการใช้งานในชีวิตประจำวัน
ตอบ   ผลกระทบในเชิงบวก
          1. การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควมคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นต้น
          2. เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส   เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการกระจายไปทั่วทุกหนแห่ง แม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ทำให้มีการกระจายโอกาสการเรียนรู้ มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล นอกจากนี้ในปัจจุบันมีความพยายามที่จะใช้ระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสาร 
          3. สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน   การเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศใน โรงเรียนมากขึ้น
          4. เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม   การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวมรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่าง ๆ การตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วย ที่เรียกว่า โทรมาตร เป็นต้น
          5. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ   กิจการทางด้านการทหารมีการใช้เทคโนโลยี อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบควบคุม มีการใช้ระบบป้องกันภัย ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ ควบคุมการทำงาน
         ผลกระทบในเชิงลบ
          1. ก่อให้เกิดความเครียดในสังคมมากขึ้น  เนื่องจากมนุษย์ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เคยทำอะไรแบบใด มักจะชอบทำแบบนั้น ไม่ชอบการ เปลี่ยนแปลง แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปเปลี่ยนแปลง บุคคลที่รับการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ จึงเกิดความวิตกกังวล จนกลาย เป็นความเครียด กลัวว่าคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศจะทำให้คนตกงาน เพราะสิ่งเหล่านี้จะเข้ามาทดแทนมนุษย์
          2. ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรม  หรือการแลกเปลี่ยนวัฒนรรมของคนในสังคมโลก ทำให้พฤติกรรมที่แสดงออกด้านการแต่งกาย และการบริโภคเปลี่ยนแปลงไป การมอมเมาเยาวชนในรูปของเกมส์อิเล็คทรอนิคส์ ส่งผลกระทบ ต่อการพัฒนาอารมณ์และจิตใจของเยาวชน เกิดการกลืนวัฒนธรรมดั้งเดิมซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์ของสังคมนั้น 
          3. ก่อให้เกิดผลด้านศีลธรรม   บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้า และเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป
          4. การมีส่วนร่วมของคนในสังคมลดน้อยลง   การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ในการสื่อสารและการทำงาน แต่ในอีกด้านหนึ่งการมีส่วนร่วมของกิจกรรมทางสังคมที่มีการพบปะสังสรรค์กันจะน้อยลง ผู้คนมักอยู่แต่ที่บ้านหรือที่ทำงานของตนเองมากขึ้น
          5. การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลโดยการเผยแพร่ข้อมูลหรือรูปภาพต่อสาธารณชน
ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจไม่เป็นความจริงหรือยังไม่ได้พิสูจน์ความถูกต้องออกสู่สาธารณะชน ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคลโดยไม่สามารถป้องกันตนเองได้ การละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเช่นนี้ ต้องมีกฎหมายออกมาคุ้มครองเพื่อให้นำข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ในทางที่ถูกต้อง

4. อธิบายความสัมพันธ์ระบบสารสนเทศในหน่วยงาน พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ   1.ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems - TPS)  เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานประจำ ทำการบันทึกจัดเก็บ  ประมวลผลรายการที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน  โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานแทนการทำงานด้วยมือ  ทั้งนี้เพื่อที่จะทำการสรุปข้อมูลเพื่อสร้างเป็นสารสนเทศ  ระบบประมวลผลรายการนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นระบบที่เชื่อมโยงกิจการกับลูกค้า ตัวอย่าง เช่น ระบบการจองบัตรโดยสารเครื่องบิน  ระบบการฝากถอนเงินอัตโนมัติ เป็นต้น
       2.ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems- OAS)  เป็นระบบที่สนับสนุนงานในสำนักงาน หรืองานธุรการของหน่วยงาน ระบบจะประสานการทำงานของบุคลากรรวมทั้งกับบุคคลภายนอก หรือหน่วยงานอื่น ระบบนี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการเอกสาร โดยการใช้ซอฟท์แวร์ด้านการพิมพ์  การติดต่อผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  เป็นต้นผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของเอกสาร  กำหนดการ  สิ่งพิมพ์ 
       3.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  (Management Information Systems- MIS)  เป็นระบบสารสนเทศสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับกลาง  ใช้ในการวางแผน  การบริหารจัดการ และการควบคุม  ระบบจะเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่ในระบบประมวลผลรายการเข้าด้วยกัน  เพื่อประมวลและสร้างสารสนเทศที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการบริหารงาน  ตัวอย่าง เช่น ระบบบริหารงานบุคลากร  ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของรายงานสรุป  รายงานของสิ่งผิดปกติ
      4.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ  (Decision Support Systems – DSS)  เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจสำหรับปัญหาสร้างขึ้นจากแนวคิดของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการตัดสินใจ โดยให้ผู้ใช้โต้ตอบโดยตรงกับระบบ ทำให้สามารถวิเคราะห์ ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและกระบวนการพิจารณาได้ เช่น รายงานเฉพาะกิจ  รายงานการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจ  การทำนาย หรือ พยากรณ์เหตุการณ์ 
      5.ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร  (Executive Information System - EIS)  เป็นระบบที่สร้างสารสนเทศเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารระดับสูง ซึ่งทำหน้าที่กำหนดแผนระยะยาวและเป้าหมายของกิจการ สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงนี้จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลภายนอกกิจกรรมเป็นอย่างมาก   ยิ่งในยุคปัจจุบันที่เป็นยุค Globalization  ข้อมูลระดับโลก แนวโน้มระดับสากลเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการแข่งขันของธุรกิจ เช่น การพยากรณ์/การคาดการณ์ 

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว


ชื่อ นางสาวสุนิษา   หงษ์ทอง    
ชื่อเล่น ติ๊ก   
ว/ด/ป เกิด   6 มกราคม 2536    อายุ 23 ปี
น้ำหนัก  55.5  ก.ก.     ส่วนสูง 166  ซม.
มีพี่น้องทั้งหมด 3 คน  ข้าพเจ้าเป็นคนที่ 1
ที่อยู่  74/1  หมู่2  ต.ไทรทอง   อ.ชัยบุรี   จ.สุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์   0822853828      
การศึกษา
- ระดับอนุบาล1-3   โรงเรียนบ้านกอตง อ.เขาพนม  จ.กระบี่
- ระดับประถมศึกษา1-6    โรงเรียนวัดสองแพรก  อ.ชัยบุรี  จ.สุราษฎร์ธานี
- ระดับมัธยมศึกษา1-3   โรงเรียนชัยบุรีพิทยา  อ.ชัยบุรี  จ.สุราษฎร์ธานี
- ระดับมัธยมศึกษา4-6    โรงเรียนเทพมิตรศึกษา   อ.เมือง   จ.สุราษฎร์ธานี
- ระดับปริญญาตรี ปี1-2     มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต  คณะบริหารธุรกิจ  สาขาการตลาด
- ปัจจุบันกำลังศึกษาชั้นปีที่ 3  มหาวิทยาลัยตาปี  คณะบริหารธุรกิจ  สาขาการตลาด
นิสัย  ร่าเริง ยิ้มเก่ง
งานอดิเรก  ดูหนัง ฟังเพลง
คติประจำใจ   ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
ความใฝ่ฝันในอนาคต   อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง